องค์การแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
องค์การแห่งการเรียนรู้, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์บทคัดย่อ
การพัฒนาหน่วยงานให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านทรัพยากรบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในมุมมองของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาและทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้านสุขภาพ และด้านธุรการ จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเรื่อง การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วย ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสมพันธ์ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ ≤ 40 ปี การศึกษาปริญญาตรี กลุ่มงานด้านสุขภาพ และมีประสบการณ์การทำงาน 1 – 5 ปี มีระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในระดับมาก
- ปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และกลุ่มงาน มีการปฏิบัติที่สะท้อนถึงการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ระดับปานกลางและสูง ทดสอบด้วยสถิติไคสแควร์ไม่พบความสัมพันธ์ อายุและประสบการณ์การทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (r = -0.019, -0.034) การเสริมสร้างพลังอำนาจรายด้านและโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (r = 0.653)
- การเสริมสร้างพลังอำนาจโดยรวมสามารถพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ร้อยละ 38.00 (R2=0.380) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
คำสำคัญ: องค์การแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างพลังอำนาจ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
References
สุชาติ กิจธนะเสรี. การก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้. สถาบันคอมพิวเตอร์. สืบค้นจาก http://203.157.7.7/KM/upload_file/data1/knowledgebase.pdf.
Senge, P. M. The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday; 1990.
Kinlaw, D. C. The Practice of Empowerment. Hampshire, England: Gower; 1995.
Conger, J. A. & Kanungo, R.N. The empowerment process: Integrating theory and practice. Academy of Management Review; 1998, 13(3), 471-482.
พนานันท์ โกศินานนท์. รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาวิทยาลัยราชพฤกษ์สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: 2551.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, เพ็ญนภา ประภาวัต. องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา: โรงพยาบาลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ; 2552, 26(1) (กรกฎาคม-ธันวาคม).
รัชฎา ประสิทธิ์พรชัย. ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กรณีศึกษา: สำนักงานใหญ่). (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ; 2553.
อาภาพร เพชรศรีสม. (2556). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของการประปาส่วนภูมิภาคเขต 9. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่; 2556.
เฟื่องฟ้า ภูธะรักษ์. กลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วยแก่บุคลากร: เปรียบเทียบโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพและโรงพยาบาลที่รอการรับรองคุณภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา; 2548.
ธีรภัทร คงกัลป์. ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี; 2559.
https://www.chulabhornhospital.com, 2020
Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. On the use of content specialists in the Assessment of Criterion - referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research; 1977, (2), 49-60.
อุมาพร พรมสะอาด, อุดม ลีลาทวีวุฒิ, สมชาติ โตรักษา, สุคนธา คงศีล. การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์; 2555, 42(2): 92-102.
ประทีป พงษ์สำราญ. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.