เปรียบเทียบการจัดบริการแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง แก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามการรับรู้ของผู้ให้บริการ อำเภอหาดใหญ่และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • นวพร ดำแสงสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พนัสยา วรรณวิไล
  • อภิสิทธิ์ เชื้อคำเพ็ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • มาลี คำคง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การจัดบริการสุขภาพแบบบูรณาการ, ประชาชนเป็นศูนย์กลาง, ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการจัดบริการแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง แก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องร่วมโครงการวิจัยดำเนินการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง วิธีการศึกษา ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง(cross sectional study) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง อำเภอละ 60 คน ประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ จากหน่วยบริการ 4 ประเภท คือ 1) คลินิกหมอครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ 2) คลินิกหมอครอบครัวนอกโครงการวิจัยฯ 3) คลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาล 4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) ผลการศึกษา หน่วยบริการทั้ง 4 หน่วย ประเมินตนเองแตกต่างกันชัดเจน ทุกด้าน(p<0.05)  คลินิกหมอครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการฯ อำเภอหาดใหญ่ ประเมินตนเองในระดับที่สูงกว่าหน่วยบริการอื่นด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและแพทย์ครอบครัวหรือหมอครอบครัว  และระบบสนับสนุนขององค์กร(p<0.05) อำเภอนาทวี ได้แก่ การจัดทำแผนการดูแลรายบุคคลอย่างมีส่วนร่วม และระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการ คลินิกหมอครอบครัวที่เป็นศูนย์แพทย์ชุมชน สังกัดโรงพยาบาลศูนย์ ประเมินตนเองในระดับที่สูงกว่า คลินิกหมอครอบครัวที่เป็นรพ.สต.(p < 0.05) ด้านการจัดทำระบบข้อมูลการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ความต่อเนื่องของการดูแลและการเชื่อมประสาน และระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการ ส่วนคลินิกหมอครอบครัวที่เป็นรพ.สต.ประเมินสูงกว่าคลินิกหมอครอบครัวที่เป็นศูนย์แพทย์ชุมชน ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและแพทย์ครอบครัวหรือหมอครอบครัว (p<0.05)  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การจัดบริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้ง 2 อำเภอ สอดรับ กับกรอบแนวคิดการจัดบริการอย่างบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ยังไม่ครอบคลุมรอบด้านและยังไม่เกิดประสิทธิผลต่อผู้รับบริการตามที่คาดหวัง คือ มีการดำเนินการและการจัดการอย่างเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม บริการมีการเชื่อมประสานดี มีระบบสนับสนุนดี แต่ยังไม่ครอบคลุมและไม่ต่อเนื่อง

References

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงค์สวัสดิ์,ไพบูลย์ สุริยวงศ์ไพศาล,วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย,สันติ ลาภเบญจกุล,และดวงดาว ศรียากูล.โครงการวิจัยดำเนินการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ:ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;2563.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ.แนวทางการดำเนินงานคลินิคหมอครอบครัว.นนทบุรี:สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข;2561.

สมจิตร แดนสีแก้ว.ความท้าทายของพยาบาลในการสร้างสุขภาวะแก่สังคมที่ซับซ้อนโดยใช้ทฤษฎีไร้ระเบียบ.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต].2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2563] ; 34:21-28.เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/ view/57352/ 47551

ปวีณา นราศรี, กานต์ ฉลาดธัญญกิจ, นพวรรณ เปียซื่อ.บทบาทของพยาบาลในการจัดการดูแลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับปฐมภูมิตามแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.รามาธิบดีพยาบาลสาร [อินเทอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2563] ;23:27-43. เข้าถึงได้จาก:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/issue/ view/8568

Tham TY, Tran TL, Prueksaritanond S, Isidro JS, Setia S, Welluppillai V. Integrated health care systems in Asia : an urgent necessity. Clinical Interventions in Aging 2018;14:2527-2538.

World Health Organization. [Internet]. Framework on Integrated, People Centered Health Service. 2016 [cited 2020 April 16]. Available from : https://www.who.int/servicedeliverysafety/areas/ people-centred-care/en/.

Maeseneer J, Weel C, Daeren L, Leyns C, Decat P, Boeckxstaens P, et al. From “patient” to“person”to“people”: the need for integrated, people-centered health care. The International Journal of Person Centered Medicine.2012;2(3):601–14.

พิมพิมล วงศ์ไชยา, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, พินทอง ปินใจ. การดูแลที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง:บริการสุขภาพในศตวรรษที่ 2. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559 ; 4 (ฉบับพิเศษ เมษายน) : 361-71.

ณภัทร พลอำนวย, สงครามชัย ลีทองดี, เมรีรัตน์ มั่นวงศ์.รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการความร่วมมือในชุมชน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2019 ; 8(2) : 176-85.

Yiu KC,Rohwer A,Young T.Integration of care for hypertension and diabetes : a scoping review assessing the evidence from systematic reviews and evaluating reporting. BMC Health Services Research 2018;18(481):1-17.

อินทิรา ยมาภัย, สุธาสินี คำหลวง, ชุติมา คำดี, ศิตาพร ยังคง, ทรงยศ พิลาสันต์, พิศพรรณ วีระยิ่งยง, และคณะ. ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของประเทศไทยในปี พ.ศ.2576. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2016 ; 10(3) : 201-214.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 - 2564.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข ; 2560.

World Health Organization. global strategy on integrated people-centred health services 2016-2026. Executive Summary. Geneva Switzerland : the WHO Document Production Services;2015.

สุรินทร์ ตั้งแต่ง. ผลของการนวดเท้าด้วยตัวเองในกระบะลูกแก้วเพื่อลดอาการเท้าชาของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกโรคเรื้อรังศูนย์สาธารณสุขอำเภอเมืองชลบุรี.วารสารโรงพยาบาลชลบุรี [อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2563];45(1):[5-9]. เข้าถึงได้จาก:http://journal.cbh.moph.go.th:8080/ journal/view/indexpage

Slama S, Hammerich A, Mandil A, Sibai AM, Tuomilehto J, Wickramasinghe K, et al. [Internet].The integration and management of noncommunicable diseases in primary health care. East Mediterr Health J 2018 [cited 2020 September 13];24(1): 5–6.Available from: https://doi.org/ 10.26719/2018.1.5

Agency for Health care Research and Quality. [Internet]. Develop a Shared Care Plan.2020 [cited 2020 September 13]. Available from: https://integra tionacademy. ahrq.gov/products/playbook/develop-shared-care-plan

Dartmouth-Hitchcock. [Internet]. How to Make a Referral.2020 [cited 2020 September 13].Available from:https://med.dartmouthhitchcock.org/referrals/dhmc _ howto_refer.html

Pan American Health Organization. [Internet]. Innovative Care for Chronic Conditions : Organizing and Delivering High Quality Care for Chronic Non commu nicable Diseases in the Americas.2013 [cited 2020 September 15]. Available from :https://www.paho.org/hq/dmdocuments/2013/PAHO-Innovate-Care-2013-Eng.pdf

Coleman K, Austin BT, Brach C, Wagner EH. [Internet]. Evidence on the Chronic Care Model in the new millennium. Health Affairs.2009 [cited 2020 September 15];28(1):75-85. Available from:https://www.healthaffairs. org/doi/pdf/10.1377/hlt haff.28.1.75.

Droz M, Senn N, Cohidon C. [Internet]. Communication, continuity and coordination of care are the most important patients' values for family medicine in a fee-for-services health system. BMC Fam Pract.2019 [cited 2020 September 15]. Available from:https://doi.org/10.1186/s 12875-018-0895-2

Piatt GA, Anderson RM, Brooks MM, Songer T. [Internet]. 3-year follow-up of clinical and behavioral improvements following a multifaceted diabetes care intervention : results of a randomized controlled trial. Diabetes Educator. 2010 [cited 2020 September 15];36:301–309.Available from: https://www.Researchgate. net/profile/Robert_Anderson18/publication/41722092

Bousquet J, Anto JM, Sterk PJ, Adcock LM, chung KF, Roca J, et al. [Internet]. Systems medicine and integrated care to combat chronic noncommunicable diseases. Genome Med.2011 [cited 2020 September 15];3(7):43. Available from : http://doi:10.1186/gm259

Golden HS, Hager D, Gould LJ, Mathioudakis N, Pronovost PJ. [Internet]. A Gap Analysis Needs Assessment Tool to Drive a Care Delivery and Research Agenda for Integration of Care and Sharing of Best Practices Across a Health System. Jt Comm J Qual Patient Saf.2017 [cited 2020 September 15];43(1): [18–28]. Available from: http://doi:10.1016/j.jcjq.2016.10.004

ศูนย์ข่าวสปสช.การจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปี 2562 [อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 27เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://nhsonews.com/index.php/diagram/content/269

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน.กรอบแนวทางแผนพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขส่วนภูมิภาค[อินเทอร์เน็ต].2553 [เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://wwwnno.moph.go.th/ down loads/plan/scan0001.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. HDC Database การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อสำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2563].เข้าถึงได้จาก:https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/re ports/page. php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข.โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต].2560[เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2563].เข้าถึงได้จาก:http://dmsic.moph.go.th/ index/detail/7039

กลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ กองบริหารการสาธารณสุข.ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ กรกฎาคม 2560 [อินเทอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 27เมษายน 2563].เข้าถึงได้จาก: http://www.amnathos.moph.go.th/file_news/amnathosd Eisa08082560183541

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12.การพิจารณาข้อมูลคำขอบุคลากร[อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2563].เข้าถึงได้จาก:http://www.rh12.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/ 03/B5-5.2-pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30