ผลการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศที่มีต่อความสมดุล ของร่างกายและความเครียดในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ชิระวุฒิ อัจฉริยชีวิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชัยรัตน์ ชูสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ลีลาศ, ความสมดุล, ความเครียด, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศที่มีต่อความสมดุลและความเครียดในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60 – 82 ปี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยทั้ง 2 กลุ่ม ออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เท่ากัน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีการนำเอาลวดลายการเต้นหรือท่าทางการเต้นลีลาศ(Figures) ต่าง ๆ มาออกแบบตามหลักการการออกกำลังกายด้วยการเข้าแถวเต้น และกลุ่มควบคุมทำการออกกำลังกายตามปกติ เช่น เดิน วิ่ง และเต้นแอโรบิค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศสำหรับผู้สูงอายุ แบบทดสอบการทรงตัว (Berg Balance Scale) แบบทดสอบความสามารถในการเดินและการทรงตัว (Timed Up and Go test) และแบบวัดความเครียดกรมสุขภาพจิต (SPST-20) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีการทรงตัวขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หลังการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ และความเครียดหลังการทดลองลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบการทรงตัวหลังการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ของทั้งสองกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีการทรงตัวขณะอยู่กับที่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การทรงตัวขณะเคลื่อนที่และความเครียดของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน  

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร พ.ศ.2558–2559 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2560 [เข้าถึงเมื่อ20 ก.ค. 60]. เข้าถึงได้จากhttp://www.nso.go.th

ศศิมา ชีพัฒน์, เพลินพิศ สุวรรณอำไพ, ทัศนีย์ รวิวรกุล. ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560; 31: 98-112

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2557. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. งานพิมพ์; 2558.

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, สาริณี โต๊ะทอง, ทานตะวัน แย้มบุญเรือง. ผลของการใช้โปรแกรมจัดการความเครียดต่อความสามารถจัดการความเครียดและระดับความเครียดในผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี. วารสารเกื้อการุณย์. 2562; 26(2): 66-77

พรทิพย์ สิมะดำรง. เปรียบเทียบการทรงตัวในผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายระหว่างไทชิ เดิน วิ่ง และลีลาศ. วารสารกรมการแพทย์. 2562; 44(4): 67-72

พรศิริ พฤกษะศรี. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2551; 26(4): 323-337

จิตอารี ศรีอาคะ. การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลสตรี โรงพยาบาลน่าน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.

ทัตตพันธ์ เจ้ยทองศรี. ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษา โดยใช้การฝึกเต้นรำลีลาศประเภทบอลรูมกับประเภทละตินอเมริกันที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษาปริญญาตรี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

ธงชัย เจริญทรัพย์มณี. ลีลาศ. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น; 2542.

ปภาวดี สุนทรชัย. ผลการฝึกออกกำลังกายด้วยเพลงลีลาศจังหวะบีกินต่อสมรรถภาพการทรงตัวและการเดินในผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติการหกล้ม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2559;26(2): 61-66

ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ. การจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จ. 2562; 1(1): 95-107

Berg et al. Clinical and laboratory measures of postural balance in an elderly population. Archives Physical Medicine Rehablitation. 1989; 13 (4): 304–311

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum; 1988.

ACSM. General principles of exercise prescription in ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription (p.150). American College of Sports Medinine; 2006.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรส; 2557.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-22