ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับเพศศึกษารอบด้าน

ผู้แต่ง

  • นิตยา เพ็ญศิรินภา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, เพศศึกษา, เพศศึกษารอบด้าน, ทักษะชีวิต

บทคัดย่อ

วัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตในหลายๆ ด้านทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม  มีความอยากรู้อยากลอง มีพัฒนาการทางเพศทำให้เกิดความต้องการทางเพศ นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตัววัยรุ่น ครอบครัว ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจในภาพรวม ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายและกำหนดแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติสำหรับการป้องกันและการแก้ปัญหาในการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ที่ต้องอาศัยการบูรณาการและความร่วมมือในการดำเนินงานของทุกฝ่าย การพัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิตที่มีคุณภาพให้แก่เด็กและเยาวนชนนับเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอข้อมูลปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กฎหมายและแผนยุทธศาสตร์ในการป้องกันและการแก้ปัญหาในการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น แนวคิดเกี่ยวกับเพศศึกษารอบด้าน และการประยุกต์เพศศึกษารอบด้านเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

เพศศึกษารอบด้าน เป็นหลักสูตรที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ในมิติต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศ ที่ช่วยให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และค่านิยม เพื่อนำไปสู่การเสริมพลังในการเลือกที่จะกระทำในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ และการอนามัยเจริญพันธุ์ โดยมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือก ทั้งนี้หลักการจัดการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเคารพในสิทธิของผู้เรียน  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ อันจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิตที่มีคุณภาพเพื่อป้องกันและการแก้ปัญหาในการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นต่อไป

References

บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, กิติพงศ์ แซ่เจ็ง, ประกายดาว พรหมประพัฒน์. “สถานการณ์ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น”. ใน คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม, 2557.

องค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย. รายงานสังเคราะห์การวิเคราะห์สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทย 2558. กรุงเทพฯ: องค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย, 2558.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสรุปผลที่สำคัญ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย, 2563.

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขสุข. รายงานเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/rh/n330_d1a80b22d8a4daa876f459095915af6d_Ebook_Abortion_62.pdf.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 เล่ม 133/ตอนที่ 30ก/หน้า 1/31 มีนาคม 2559, 2559.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 - 2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2562 - 2564). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2562.

มาลี เกื้อนพกุล. Teenage Pregnancy ใน การตั้งครรภ์ในมารดาวัยเสี่ยง. บุญศรี จันทร์รัชชกูล และคณะ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น, 2554.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตัวชี้วัดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/tinymce/kpi64/1_14/1_14_1-1.pdf.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตัวชี้วัดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/tinymce/kpi64/1_14/1_14_1-1.pdf.

กฤตยา อาชวนิจกุล. เพศวิถีที่กําลังเปลี่ยนไปในสังคมไทย ใน จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย. สุรีย์พร พันพึ่ง และมาลี สันภูวรรณ์ (บรรณาธิการ). นครปฐม: สํานักพิมพ์ประชากรและสังคม, 2554: 43-66.

กุลกานต์ อภิวัฒนลังการ, บุญเสริม หุตะแพทย์, ประกายรัตน์ ภัทรธิติ. การพัฒนาโปรแกรมการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาโดยบิดามารดาร่วมกับวัยรุ่น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราข, 2555.

วรนารถ สุจินต์. ความต้องการเนื้อหาหลักสูตรและวิธีสอนเพศศึกษาของครูและนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับช่วงชั้นที่ 3 และระดับช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี, 2552.

ณิชาภัทร ปุ่นมีกิจ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมืองพัทยา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2563; 34(1), 13-29.

สุภวรรณ เจตุวงศ์ และคณะ. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน การให้บริการอนามัยการเจริญพันธ์ คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2556.

มนันญา ภู่แก้ว. พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1516.

UNESCO. International Technical Guidance on Sexuality Education: An Evidence-Informed Approach for Schools, Teachers and Health Educators. Paris: UNESCO with UNAIDS, UNFPA, UNICEF and WHO, 2009.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้การดำเนินงานดูแลสุขภาพวัยรุ่นแบบบูรณาการ สำหรับทีมนักจัดการสุขภาพวัยรุ่น (Teen Manager). นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด, 2559.

Vanwesenbeeck I, Westeneng J, Boer, TD, Reinders J, Zorge RV. Lessons learned from a decade implementing Comprehensive Sexuality Education in resource poor settings: The World Starts With Me. Sex Education, 2016; 16(5), 471–486.

UNESCO. International technical guidance on sexuality education: an evidence-informed approach. Paris: UNESCO with UNAIDS, UNFPA, UNICEF and WHO, 2018.

Santelli JS, Grilo SA, Choo T-H, Diaz G, Walsh K, Wall M, et al. Does sex education before college protect students from sexual assault in college? PLoS ONE, 2018; 13(11): 1-18.

Lee GY, & Lee DY. Effects of a life skills-based sexuality education program on Korean early adolescents. Social Behavior and Personality: An international journal, 2019; 47(12), 1-11.

de Castro F, Rojas-Martínez R, Villalobos-Hernández A, Allen-Leigh B, Breverman-Bronstein A, Billings DL, et al. Sexual and reproductive health outcomes are positively associated with comprehensive sexual education exposure in Mexican high-school students. PLoS ONE, 2018; 13(3): 1-15.

Keogh SC., et al. Challenges to implementing national comprehensive sexuality education curricula in low- and middle-income countries: Case studies of Ghana, Kenya, Peru and Guatemala. PLoS ONE, 2018; 13(7): 1-18.

จุฑารัตน์ หลักทรัพย์, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่น LINE เพื่อพัฒนาพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขศึกษา, 2560; 40(2), 51-63.

อ่อนนุช หมวดคูณ, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นิรัตน์ อิมามี. ประสิทธิผลของโปรแกรมเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขศึกษา, 2561; 41(2), 181-192.

นัฏยา สุวลักษณ์, สุปรียา ตันสกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การจูงใจ ทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารสุขศึกษา, 2562; 42(1), 29-42.

ปริษณา อยู่คง, อาภาพร เผ่าวัฒนา, วันเพ็ญ แก้วปาน. การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2562; 33(2), 18-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30