การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • เกษศิรินทร์ วิเชียรเจริญ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารยา ประเสริฐชัย
  • ธีระวุธ ธรรมกุล

คำสำคัญ:

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล , การประเมินการดำเนินงาน , นโยบายการใช้ยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทโครงการ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบริบทโครงการ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการกับผลผลิตของการดำเนินงาน ประชากร คือ คณะกรรมการหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของโรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบุรี  8 แห่ง จำนวน 113 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตามแบบจำลอง CIPP โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ บริบทโครงการ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาพรวมบริบทโครงการ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับมาก  2) ปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับผลผลิตของการดำเนินงานตามนโยบายในระดับสูง ยกเว้นปัจจัยด้านบริบทมีความสัมพันธ์กับผลผลิตในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรให้การสนับสนุน ติดตามเยี่ยมนิเทศ ผลักดันให้โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งสร้างความตระหนักในการสั่งใช้ยา มีการรณรงค์ RDU ผ่านสื่อโฆษณา และขยายผลการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) ควรมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่น ๆ ทั้งหน่วยงานในและนอกสังกัดรวมถึงภาคเอกชน เช่น ร้านชำ ร้านยา คลินิก และภาคประชาชน

         

References

World Health Organization. Promoting rational use of medicines: core components. Who Policy Perspectives on Medicines [Internet]. 2002 [cited 2020 Sep 5];1-6. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/67438

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ระบบยาของประเทศไทย 2563. กรุงเทพฯ : ธนอรุณการพิมพ์; 2564.

สุมาลี ชูช่อ. และ รุ่งทิวา หมื่นจำปา. ผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560;9(2): 464-474.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Service Plan:Rational Drug Use).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.

Stufflebeam,D.L.Evaluation Models,Viewpoints on Education and Human Services Evaluation. 2nd ed. New York: Kluwer Academic Publishera; 2000.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

สุจิตา กุลถวายพร, สุนทรี พิทักษ์ธรรม และลักขณา คล้ายแก้ว. ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสงขลาและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเกี่ยวกับโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2560;23(1): 62-67.

สมหญิง พุ่มทอง, พัชรี ดวงจันทร์, กัญญดา อนุวงศ์, และนิธิมา สุ่มประดิษฐ์. บทเรียนจากการขยายผลสู่ความยั่งยืนของโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;11(4): 500–15.

ปราชญา บุตรหงษ์ และระพีพรรณ ฉลองสุข. การเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชและโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ภายหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ 2563;15(1): 109-27.

จันทร์จรีย์ ดอกบัว และนุศราพร เกษสมบูรณ์. การประเมินกระบวนการนำนโยบายเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559;8(2): 309-17.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

Mamo, D. B., & Alemu, B. K. Rational Drug-Use Evaluation Based on World Health Organization Core Drug-Use Indicators in a Tertiary Referral Hospital, Northeast Ethiopia: A Cross-Sectional Study. Drug, Healthcare and Patient Safety 2020; 2: 15–21. doi: 10.2147/DHPS.S237021

คชาพล นิ่มเดช, จินตนา ลิ่มระนางกูร, และศุศราภรณ์ สามประดิษฐ์. นโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2562;1(2): 1-7.

Grand Le, A., Hogerzeil, H. V., Haaijer-Ruskamp, F. M. Intervention research in rational use of drugs: a review. Health Policy and Planning 1999; 14(2): 89–102. doi: 10.1093/heapol/14.2.89

ชมพูนุท เสียงแจ้ว, คชาพล นิ่มเดช, นาฏยา สุวรรณ, พุทธชาติ มากชุมนุม, วิโรจน์ ทองฉิม, และณัฐนันท์ เพชรประดิษฐ์. การสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผสมสเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562;33(1): 231–42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31