ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
ความมั่นคงทางอาหาร , ผู้สูงอายุ , ทฤษฎีระบบนิเวศวิทยาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย โดยนำทฤษฎีระบบนิเวศวิทยาบรอนเฟนเบอร์เนอร์ มาประยุกต์ ใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยประกอบด้วย 3 ระบบ คือ ปัจจัยด้านบุคคล (microsystem) ปัจจัยด้านครอบครัว (mesosystem) และปัจจัยด้านสังคม (exosystem) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสังคมของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาระดับความมั่นคงทางด้านอาหารของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60–89 ปี จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยวิธีการสัมภาษณ์ ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างรวมถึงการศึกษาปัจจัย และระดับความมั่นคงทางอาหารจะวิเคราะห์ และนำเสนอด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงทางอาหารด้วยสถิติถดถอยพหุคูณเชิงชั้น ปัจจัยด้านบุคคล ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.10 และสถานภาพสมรส ร้อยละ 75.80 ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่า มีรายได้ส่วนใหญ่อยู่ที่ 7472.22 บาท และจำนวนสมาชิกในครอบครัวมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 5 สำหรับปัจจัยด้านสังคม พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย (Mean (M)=0.65, Standard Deviation (SD)=0.16) ระดับความมั่นคงทางด้านอาหารของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (M=0.77, SD=0.10) และพบว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัว (Beta = -.173) เป็นปัจจัยที่สามารถทํานายอิทธิพลต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 3 (R2=0.030, p<0.001) การวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน โดยให้ผู้สูงอายุและชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบาย พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและระบบบริการสาธารณสุขในชุมชน เพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอนาคต
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2562.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนประเทศไทย พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://library2.parliament.go.th
พัชราวดี อรรถวิวัฒนากุล. ความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท จังหวัดพัทลุง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2557.110 หน้า.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2560.
กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. กลยทธุ์การดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวกับตำบลต้นแบบดีเด่น. นนทบุรี: กรมอนามัย, 2556. 84 หน้า.
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์ด้านอาหารการจัดการในประเทศไทย 2562. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2563]. เข้าถึงไดIจาก: http://1ab.in/U2U
สํานักงานแรงงานจังหวัดยะลา. รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดยะลา ประจําปี 2562 (มกราคม – ธันวาคม 2561). [อินเตอร์เน็ต]. ยะลา: สํานักแรงงานจังหวัดยะลา; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://yala.mol.go.th
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. การสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยประจําปี 2560. กรุงเทพฯ; 2560.
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. จํานวน คนหางานที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทํางาน ต่างประเทศ (จําแนกตามประเทศและวิธีการ เดินทาง) สถิติรายปีงบประมาณ 2561. [อินเตอร์เน็ต]. กองบริหารแรงงานไทยไป ต่างประเทศ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษา 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/overseas/statistic /param/site/149/cat/81/sub/0/pull/category/ view/list-label
Bronfenbrenner, U. Making human beings human: Bio ecological perspectives on human development. Thousand Oaks. CA: Sage; 2007.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2556; 16(2): 9-18
สุพรรณี พฤกษา. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 8. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559; 16(3). 2-12
กิตติพร เนาว์สุวรรณ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการพยาบาลด้านผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2560; 10(1): 56-68
วันทนีย์ ชัยฤทธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนชนบททางภาคใต้. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. 2555; 18(3):311-326
เกศนาฏ กลิ่นทอง และคณะ. ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกร ตําบลสองห้อง อําเภอฟากท่าจังหวัดอุตรดิตถ์: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ครั้งที่ 8.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.หน้า1-15.
Stuck record: Why Amartya Sen is wrong on food security again. 2016; 5.
วิรุท นนสุรัตน์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 8. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคราม. 2019; 16(3)
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2560; 7(2)
Han, Y., Li, S., &Zheng, Y. Predictors of nutritional status among Community dwelling older adults in Wuhan china. Public Health Nutrition. 2008; 12(8), 1189-1196.
สุธานี มะลิพันธ์. ความมั่นคงทางอาหารของชาวลัวะบ้านป่ากา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2552.130 หน้า.
จอมขวัญ ชุมชาติ. ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนโคกพะยอม ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558. 257 หน้า
พัชราวดี อรรถวิวัฒนากุล. การศึกษาความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหินผุด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2561; 1(2): 1-14.
ปุณณดา มาสวัสดิ์ ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์ และอิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ บุญญะศิริ. ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนเกษตรไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2559; 11(2):1-10.
24.อรนิตย์ จันทะเสน นพวรรณ เปียซื่อ และสุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิด 2 ในชุมชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560; 11(1): 1-14.
ฐิติพร โชติดี. ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อยในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.112 หน้า.
Best, J.W. Research in Education. (3rd ed) Englewood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall,Inc; 1977.
Bloom, Benjamin S.,et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Grew-Hill Book Company; 1971.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. [อินเตอร์เน็ต]. ยะลา:องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา; [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.yalapao.go.th
พัชรี คมจักรพันธุ์ และวรรณี จันทร์สว่าง. ประสบการณ์การอยู่อาศัยในครัวเรือนข้ามรุ่นของผู้สูงอายุไทยในภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2558; 35(3): 1-22.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2562. 152 หน้า.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปร ดักท์.
งานเวชสารสนเทศ โรงพยาบาลรามัน. (2563). สรุปผลการดำเนินงาน คปสอ.รามัน ประกอบการติดตามการนำนโยบายสู่การปฏิบัติและนิเทศ คปสอ.รอบ 1 ปี 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก.https://www.ramanhospital.net.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา. รายงานคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดยะลา ประจำปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. ยะลา: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://yala.cdd.go.th