การจัดการสิ่งแวดล้อมวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา โดยบุคลากรและนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัญชลี พงศ์เกษตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
  • อับดุลบาซิส ยาโงะ
  • สัตตมาส ลรรพรัตน์
  • กฤษเนตร เกษสระ
  • สัญญา ยือราน
  • กรกฏ พงศ์เกษตร

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ , การจัดการสิ่งแวดล้อม , วิทยาลัย

บทคัดย่อ

   

การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ประเทศไทย 2561-2580 และยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข สำหรับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับสถานบริการสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการวิจัยเชิงพรรณนา               เพื่อศึกษาระดับความรู้ เจตคติและการจัดการสิ่งแวดล้อม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการสิ่งแวดล้อมของบุคลากรและนักศึกษา จำนวน 655 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 252 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่าความรู้ เจตคติและการจัดการสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.6 ระดับดี ร้อยละ 58.5 และระดับดี ร้อยละ 73.8 ตามลำดับ และพบว่าอายุ ความรู้ และเจตคติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับการจัดการสิ่งแวดล้อม ในทางบวก ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.229, p<0.01, r = 0.268, p<0.01, และ r = 0.355 , p<0.01) ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ร้อยละ 88.0 โดยควรมีการแนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์หรือสื่อสารให้บุคลากรและนักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ร้อยละ 67.9 เนื่องจากความรู้ของบุคลากรและนักศึกษา ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.6 ส่วนระดับเจตคติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 58.5 ดังนั้นการจัดโครงการ กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ผ่านนโยบายที่ชัดเจน จะสามารถทำให้วิทยาลัยมีการจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีมากขึ้น

 

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ 2561-2580 ฉบับย่อ. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานโครงการและตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา. สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดตามคำรับรองปฏิบัติราชการรายตัวชี้วัด รอบ 6 เดือน (เมษายน – กันยายน 2563) ประจำเดือนกันยายน 2563. ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา; 2563.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2533.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา. ข้อมูลนักศึกษา ปีการศึกษา 2563. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา; 2563.

Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. Determining sample size for research activities Educational and Psvcholonical Measurement; 1970.

พัฒนา มูลพฤกษ์. อนามัยสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2550.

อนุรัตน์ ไชยนุราช, ชมพูนุช สุภาพวานิชม กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, และพัชรินทร์ สมบูรณ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมการดำเนินงานสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4 (ฉบับพิเศษ): 75-90.

108 วิธีประหยัดพลังงาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.green.kmutt.ac.th/elec/108.html

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw–Hill; 1971)

องค์อร ประจันเขตต์. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของนักเรียนโรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา อ.บ้านนา จ.นครนายก. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2555; 65(3): 159-166.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร; 2540.

กนกอร นิลวรรณจะณกุล และปวีณา คําพุกกะ. ความรู้และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2556; 2(3): 65-83.

ณริดา รัตนอัมพา, ชุติมา บุญไตรย์, เด่นชัย เพ็งตา, ปาริษา ปานาราช, และอารีรัตน์ โพธิ์ดา. พฤติกรรมการลดภาวะโลกร้อนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2561; 18(2): 90-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31