ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ในเขตอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • เมธี สุทธศิลป์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • วลัยลักษณ์ พันธุรี
  • ศศิวรรณ ส่งต่าย

คำสำคัญ:

การเผชิญความเครียด , ผู้ดูแลผู้สูงอายุ , ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาการเผชิญความเครียดและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในเขตอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 356 คนซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองระหว่างวันที่ 27 มีนาคม ถึง 27 เมษายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 95.5 และมีการเผชิญความเครียดในระดับปานกลาง ร้อยละ 83.4ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value < 0.05) ได้แก่ทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สัมพันธภาพในครอบครัว ระยะเวลาในการดูแลและอายุซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมทำนายการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลได้ 36.5 (R2 = 0.365, p<0.001) ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุโดยการส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุและเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานที่เหมาะสม

References

World Health Organization (WHO). Diabetes. [อินเตอร์เนต] สืบค้นวันที่ 20 มีนาคม 2564. จาก https://www.who.int/health-topics/diabetes#tab=tab_1

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2557.

โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกประจำปี พ.ศ.2564. ตาก: กระทรวงสาธารณสุข, 2564.

ฉายศรี สุพรศิลป์ชัย, นิตยา จันทร์เรืองมหาผล และอรพินท์ มุกดาดิลก. “เบาหวานในไทย: บทเรียนจากนโยบายของประเทศพัฒนา”สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 11(2): 168-179; เมษายน-มิถุนายน, 2560.

ธงชัย ประฎิภาณวัตร. “หลักการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน” วารสารอายุรศาสตร์อีสาน. 6(3): 78-93; กันยายน-ธันวาคม, 2560.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตาก. รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรังอำเภอเมืองจังหวัดตากประจำปี พ.ศ.2563. ตาก: กระทรวงสาธารณสุข, 2564.

Wayne W Daniel. Determination of sample size for estimating propositions. In: Wayne W Daniel, editor. Biostatistics: A Foundation for analysis in the health science. New York: John Wiley & Sons, 2010.

Bloom B. Taxanomy of educational objectives. The classification of educational goal. Handbook II : affective domain. New York: David Makay Co Inc., 1964.

วัลลภา ผ่องแผ้ว. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฝึกสมาธิแบบอนาปานสติต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 32(1): 39-51; มกราคม-เมษายน, 2563.

นวพร ทุมแถว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(3): 32-44; กรกฎาคม–กันยายน, 2564.

นวพร ดำแสงสวัสดิ์, พนัสยาวรรณวิไล, อภิสิทธิ์ เชื้อคําเพ็ง และมาลี คําคง. เปรียบเทียบการจัดบริการแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามการรับรู้ของผู้ให้บริการอำเภอหาดใหญ่และอำเภอนาทวีจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(3): 17-31; กรกฎาคม–กันยายน, 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31