การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พชรพร ครองยุทธ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์
  • เจษฎา สุราวรรณ์
  • จักรกริช ไชยทองศรี
  • กชมน นรปติ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ , การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กันยายน 2563 – เมษายน 2564 ณ คลินิกวัณโรค จังหวัดขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข ผู้กำกับการรับประทานยาวัณโรค และผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับวัณโรค สำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และแบบสอบถามพฤติกรรมการกำกับการรับประทานยาต้านวัณโรค ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมภายใต้แนวคิด “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาระบบและชุมชนมีส่วนร่วม” ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value .011) อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ กลุ่มทดลองเท่ากับร้อยละ 93.33 ดังนั้น รูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่นที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เสริมมาตรการป้องกันควบคุมวัณโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นได้อย่างมีประสิทธิผล

References

World Health Organization. Global Tuberculosis Report 2019. Geneva: World Health Organization; 2019.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2020. Geneva: World Health Organization; 2020.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (รอบที่ 1). ขอนแก่น; 2563.

Crane P, O’Regan M. On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention. Greenway: The Department of Families, Housing, Community Services and Indigenous Affairs, Australian Government; 2010.

จุฑาทิพย์ ภัทราวาท. คู่มือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์; 2553.

ดารารัตน์ โห้วงศ์, ปิยะณัฐ วิเชียร. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดสระแก้ว. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562;2(2):83–94.

มุกดา วิเศษ, นพดล พิมพ์จันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง มากโดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2563;27(2):1–11.

ชาญเลขา กุลละวณิชย์, ยุพิน หงษ์วะชิน. การพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563;10(3):491–508.

World Health Organization. Companion Handbook to the WHO Guidelines for the Programmatic Management of Drug-Resistant Tuberculosis. Jeneva: World Health Organization; 2014.

Li X, Wang B, Tan D, Li M, Zhang D, Tang C, et al. Effectiveness of comprehensive social support interventions among elderly patients with tuberculosis in communities in China: a community-based trial. J Epidemiol Community Heal [Internet]. 2018 [cited 2021 Jul 16]; 72:369–75. Available from: http://dx.doi.org/10.1136/jech-2017-209458

สุภาพ ภาสุรกุล, ภาวนา กีรติยุตวงศ์, เขมารดี มาสิงบุญ. ผลการใช้โปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อเจตคติเกี่ยวกับการรักษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลสำเร็จในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2555;20(4):57–67.

อัญชลี ทองเสน, วิวัฒน์ มีสุวรรณ์, ดิเรก ธีระภูธร. การรักษาทางไกลบนเครือข่ายสังคม. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์. 2558;2(1):9–15.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2560 – 2569). นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล. 2548;20(2):63–76.

จุฬาวรรณ จิตดอน, วนิดา ดุรงฤทธิชัย, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รักษาด้วยระบบยาระยะสั้น อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉกวิชาการ. 2560;20(40):1–11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31