ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กับการเกิดโรคไตเรื้อรัง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ระยะเวลาที่ป่วย, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง คือ ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กับการเกิดโรคไตเรื้อรัง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาจากผลไปหาเหตุแบบ Unmatched Case-Control ใช้ข้อมูลจากแบบบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน ที่มารับบริการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 จำนวน 482 คน โดยกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรัง จำนวน 241 คน และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 241 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา พบว่า เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่น ๆ ในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่า ระยะเวลาที่ป่วยด้วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) โดยกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระยะเวลาป่วย 5-10 ปี และ >10 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง เป็น 1.94 เท่าและ 3.48 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผู้กลุ่มป่วยที่มีระยะเวลาป่วย < 5 ปี (ORadj=1.94, 95%CI; 1.18-4.25), (ORadj=3.48, 95%CI; 1.74-6.95), (p=0.001) ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองและการควบคุมภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเบาหวาน เพิ่มความถี่ในการตรวจไตอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ป่วยเบาหวานที่มีระยะเวลาการป่วย >5 ปี
References
Malanda, B., Karuranga, S., Saeedi, P., & Salpea, P. IDF DIABETES ATLAS Ninth edition 2019. Brussels: Belgium; 2019.
สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราผู้ป่วยและตายใน ปี 2559 - 2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD). [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://1th.me/WQe2u.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://1th.me/lfkS7.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการที่ โรงพยาบาล จำแนกตาม Stage. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://1th.me/oM6pu.
Zheng, L., Chen, X., Luo, T., Ran, X., Hu, Z., & Cheng, Q., et al. (2020). Early-Onset Type 2 Diabetes as a Risk Factor for End-Stage Renal Disease in Patients with Diabetic Kidney Disease. Prev Chronic Dis. 2020;17: 200076.
สิทธิ์ ภคไพบูลย์. ความชุก และปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารกรมการแพทย์, 2563; 45(2), 12-18.
Schlesselman J.J. Case-Control Studies Design, Conduct Analysis. New York: Oxford University Press; 1982.
ชิตกมล ศรีชมภู และเบญจา มุกตพันธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2562; 12(2), 62-72.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์, 2560.
ธัญญา รอดสุข, อรวรรณ บำรุง, และอรนงค์ คงเรือง. ระบาดวิทยาโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2557. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ, 2561.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย, 2560.