ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของครูชั้นประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • วิลัยวรรณ ปัดถา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิรพรกุล
  • เนาวรัตน์ มณีนิล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ไวรัสโคโรนา 2019, โรคติดเชื้อ, ครูชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ร้ายแรง ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคจะทำให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์(analytical cross-sectional study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของครูชั้นประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 477 คน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยพหุแบบโลจิสติกส์ (multiple logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยอัตราส่วนออดที่ปรับแล้ว (adjusted odds ratio-ORadj), ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย พบว่า ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี (ORadj = 2.41, 95%CI = 1.5 – 3.61, p-value < 0.001) การเข้าถึงสื่อในระดับมาก (ORadj = 5.41, 95%CI = 3.32 – 8.8, p-value < 0.001) การตระหนักรู้ในระดับมาก (ORadj = 1.9, 95%CI = 1.18 -3.04, p-value = 0.008) อิทธิพลของครอบครัวระดับมาก (ORadj = 1.98, 95%CI = 1.25 – 3.14, p-value = 0.003) และความชุกความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 70.9 (95%CI = 66.7 – 74.8) ดังนั้น ควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในครูชั้นประถมศึกษา ให้มีการเข้าถึงสื่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อการตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นำไปสู่การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้แก่นักเรียนที่ต้องได้รับการดูแล    เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อต่อไป

References

1. World Health Organization. [Internet]. Coronavirus. 2021 [cited 2021 june 17]. Available form: https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus
2. World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19). 2021 [cited 2021 June 23]. Available form: https://www.who.int/publications/m/item/weekly-operational-update-on-covid-19---22-june-202
3. กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 536 วันที่ 22 มิถุนายน 2564. [ออนไลน์] 2564 [อ้างเมื่อ 23 มิถุนายน 2564] จาก https://bit.ly/3wUIYrn
4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดบึงกาฬ. [ออนไลน์] 2564 [อ้างเมื่อ 22 มิถุนายน 2564]. จาก https://bkpho.moph.go.th/bungkanpho
5. สำนักส่งเสริมสุขภาพ. แนวทางการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเด็กวัยเรียนและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.
6. เทพไทย โชติชัย, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, กิรณา แต้อารักษ์, สายันห์ ปัญญาทรง, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ว.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2020; 7(1): 45-56.
7. Hsieh, Y.F., Bloch, A.D., Larsen, D.M. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression [Electronic version]. Statistics in Medicine 1998; 17(1): 1623-1634.
8. Kuyinu YA, Femi-Adebayo TT, Adebayo BI, Abdurraheem-Salami I, Odusanya Oo. Health literacy : Prevalence and determinants in Lagos State, Nigeria. PLOS ONE 2020; 15(8): e0237813.
9. LastrucciI V, Lorini C, Caini S. Florence Health Literacy Research Group, Guglielmo Bonaccorsi. Health literacy as a mediator of the relationship between socioeconomic status and health: A cross-sectional study in a population-based sample in Florence. PLOS ONE 2019; 14(12): e0227007.
10. Yılmazel G. Health Literacy, Mammogram Awareness and Screening Among Tertiary Hospital Women Patients. J Canc Educ 2018; 33:89-94
11. Davis SN, Wischhusen JW, Sutton SK, Christy SM, Chavarria EM, Sutter ME, et al. Demographic and psychosocial factors associated with limited health literacy in a community-based sample of older Black Americans. Patient Education and Counseling 2019; 2(103): 385-391.
12. Horshauge PM, Gabela P, Larsena MB, Kirkegaarda P, Edwardsa A, Andersen B. The association between health literacy and colorectal cancer screening uptake in a publicly funded screening program in Denmark: Cross-sectional study. Preventive Medicine Reports 19 2020: 101132.
13. สุรีย์ ธรรมิกบวร, จารุวรรณ ซุปวา. ความรู้สำคัญเพื่อครอบครัวอบอุ่น. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-23