การคัดกรองภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทุพโภชนาการ ของผู้สูงอายุในอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกกาญจน์ พันกะนก คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพิมล ชูพานิช

คำสำคัญ:

การคัดกรองภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, ภาวะทุพโภชนาการ

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทุพโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชน อำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งหมด 289 คน คัดกรองภาวะโภชนาการโดยใช้แบบประเมิน Mini Nutritional Assessment-Short Form (MNA-SF)  ร่วมกับการวัดสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป กิจกรรมทางกาย ภาวะซึมเศร้า การบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะทุพโภชนาการ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ นำเสนอด้วยค่า Adjusted Odd Ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมันที่ 95% (95% CI)

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารและภาวะขาดสารอาหาร ร้อยละ 36.0 โดยพบในผู้สูงอายุตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ร้อยละ 31.7 32.1 และ 52.6 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารและภาวะขาดสารอาหาร ได้แก่ กลุ่มอายุ 80 ปี ขึ้นไป (Adjusted OR = 2.31, 95% CI : 1.16-4.59, p-value =0.016) เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและมีภาวะซึมเศร้า (Adjusted OR = 2.72, 95% CI : 1.60-4.60, p-value < 0.001) ความเชื่อในการบริโภคอาหารเสริม (Adjusted OR = 2.46, 95% CI : 1.44-4.20, p-value = 0.001) และเส้นรอบวงน่องต่ำกว่าเกณฑ์ (Adjusted OR = 2.57, 95% CI : 1.47-4.49, p-value = 0.001) สรุป หนึ่งในสามของผู้สูงอายุในชุมชนมีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารและภาวะขาดสารอาหาร ดังนั้นควรมีการติดตามคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุเป็นระยะร่วมกับการส่งเสริมทางด้านโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ“สุขภาพดี”. กรุงเททพฯ, 2560.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2559.

Bakhtiari et al. Nutrition assessment and geriatric associated conditions among community dwelling Iranian elderly people. BMC Geriatrics, 20(278), 1-10; 2020.

นิธิรัตน์ บุญตานนท์. ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2559.

ตรีธันว์ ศรีวิเชียร. การศึกษาภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์แพทย์ชุมชนป้อมเพชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(2), 119-130 ;2559.

ดวงจันทร์ เพชรานนท์. โภชนาการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551.

ฐิตินันท์ดวงจินา และศิริ รัตน์ปานอุทัย. การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการใน ผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 47(3), 460-480;2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎร์ จังหวัดขอนแก่น. Health data center (HDC). ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report, 2563.

กู้เกียรติเวียงหฤทัย, มาริษา ภู่ภิญโญกุล และสุรชัย จิวเจริญสกุล. ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารคหเศรษฐศาสตร์. 58(1). 6-14 ; 2558.

Y., Bloch, D.A., & Larson M.D. A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634; 1998.

คะนึงนิจ ขอดคำ และเบญจา มุกตพันธุ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 62-71; 2561.

Whittemore, A.S.Sample Size for Logistic Regression with Small Response Probability. Journal of the American Statistical Association, 76, 27-32; 1981.

World Health Organization. Global Health and Aging. NIH Publication. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563,https://www.who.int/ageing/publications/global_health.pdf, 2011.

Wongpakaran, N., Wongpakaran, T., & Reekum,R. V.,The use of GDS-15 in detecting MDD: A comparison between residents in a Thai long-term care home and geriatric outpatients. Journal of Clinical Medicine Research, 5(2), 101–111; 2013.

Guigoz Y., The Mini Nutritional Assessment (MNA®) review of the literature What dose it tell us?. The Journal of Nutrition, Health & Aging©; 10(6): 466-85; discussion 485-7; 2006.

Chen, L. K., Woo, J., Assantachai, P., Auyeung, T. W., Chou, M. Y., Iijima, K., Jang, H. C., Kang, L., Kim, M., Kim, S., Kojima, T., Kuzuya, M., Lee, J., Lee, S. Y., Lee, W. J., Lee, Y., Liang, C. K., Lim, J. Y., Lim, W. S., Peng, L. N., Arai, H., Asian Working Group for Sarcopenia: 2019 Consensus Update on Sarcopenia Diagnosis and Treatment. Journal of the American Medical Directors Association, 21(3), 300–307.e2; 2020.

ธนัญธรรศ เพชรเมือง และคณะ. ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตเมือง. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences. 2(3). 32-43; 2560.

Yamni Nigam, John Knight, Sharmila Bhattacharya, & Antony Bayer. Physiological Changes Associated with Aging and Immobility. Journal of Aging Research, 2,1-2 ; 2012.

กุสุมา ซุ่นกลาง, ปกรณ์ วรสินธุ์, ปรัชญา เขตเจริญ, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง และ ปาริโมก เกิดจันทึก. สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านมะกอก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ในรายงานการประชุมวิชาการ The 6th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2014 “A Celebration of 100years of Thai Pharmacy and 20 Years of UBU Pharmacy”. 1–2 กุมภาพันธ์ 2557 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ; 2557.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555- 2559). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

อรพิน เลิศวรรณวิทย์. การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาลตากสิน. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม2564, http://203.155.220.238/csc/attachments/article/159/doctor591105.pdf ;2559.

Hwang A-C, Liu L-K, Lee W-J, Peng L-N, Chen L-K., Calf circumference as a screening instrument for appendicular muscle mass measurement.J Am Med Dir Assoc. 19(2):182–184; 2018.

Kawakami R, Murakami H, Sanada K, et al., Calf circumference as a surrogate marker of muscle mass for diagnosing sarcopenia in Japanese men and women. Geriatr Gerontol Int. 15(8):969–976; 2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-23