ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก ศิริบูรณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์

คำสำคัญ:

เมทฟอร์มิน, ยาเหลือใช้, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

ยาเมทฟอร์มินเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนกับคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 400 คน ตรวจนับเม็ดยาเมทฟอร์มินที่กล่องรับยาคืนบริเวณหน้าคลินิกเบาหวาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้โดยใช้ Multiple logistic regressions

            ผลการศึกษา พบจำนวนผู้ป่วยมียาเมทฟอร์มินเหลือใช้ ร้อยละ 64.2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 35.4 มีจำนวนเม็ดยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้ 1 – 10 เม็ด ผู้ป่วยร้อยละ 63.4 ให้ข้อมูลยาเมทฟอร์มินเหลือใช้มักเกิดจากแพทย์จ่ายยาเกินวันนัด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดยาเมทฟอร์มินเหลือใช้ คือ อายุผู้ป่วย > 60 ปี (ORadj = 1.80, 95% CI = 1.11-2.91) จำนวนเม็ดยาเมทฟอร์มินที่กินต่อวัน ≥ 3 เม็ด (ORadj = 3.22, 95%CI = 1.85-5.62) และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป (ORadj = 2.51, 95%CI = 1.60 - 3.96)

            สรุป ความชุกของผู้ป่วยมียาเมทฟอร์มินเหลือใช้จำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้นควรวางแผนจัดการระบบวันนัดให้พอดีกับจำนวนเม็ดยา ปรับลดระยะเวลาที่แพทย์สั่งยาให้น้อยกว่า 3 เดือน และการบริหารยาในผู้ป่วยสูงอายุ

References

1. Wright O. Unused prescription medicines cost health service £370m a year.
[online]. 2011. Available from: https://www.independent.co.uk/life-style/health-and-
families/health-news/unused-prescription-medicines-cost-health-service-163-370m-
year-2266442.html
2. International Diabetes Federation. IDF diabetes atlas 8 th edition: keymessage.
[online] 2017. Available from: https://www.idf.org/e-library/epidemiology-
research/diabetes-atlas.html
3. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก
ปี 2561. [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 1 กันยายน
2563]. จากhttp://www.thaincd.com/2016/news/announcement-detail.php?
id=13256&gid=16
4. วรรณพร เจริญโชคทวี, ทศพล เลิศวัฒนชัย, วินิตา รอดเหตุภัย, ศิริกัญญา กอบวรรธนะกุล. การ
วิเคราะห์และจัดการปัญหายาเหลือใช้ในชุมชนเมือง. วชิรเวชสาร, 2556; 57(3): 147-160.
5. ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, นภวรรณ เจียรพีรพงษ์, ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล.
รายงานการศึกษาและผลกระทบทางการคลังของการครอบครองยาเกินจำเป็นและการแก้ไข
ปัญหาเชิงนโยบาย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลันเรศวร; 2555.
6. วิภาดา ปุณณภาไพศาล, ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ, กฤษณี สระมุณี. การออกแบบระบบการจัดการยา
เหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการวิเคราะห์สาเหตุราก. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2561;
10(2): 302-314.
7. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear
and logistic regression. Statistics in Medicine [online]. 1998. Available from:
http://core.ac.uk/download/pdf/205199338.pdf
8. ชิตพล พิสุทธิโกศล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวของกับการเกิดยาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองประชาสโมสร อำเภอเมือง จังหวัด
ขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;
2557.
9. พรชิตา ศิรินวเสถียร. ประสิทธิภาพการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกพิเศษ.
วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2561; 15(2): 111-118.
10. ภัทรา พูลทอง, ปาริโมก เกิดจันทึก. การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงในการมียาเหลือใช้ในผู้
ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทาน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 2562; 15(4): 65-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22