ความคาดหวังต่อสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ที่พึงประสงค์ของนักวิชาการสาธารณสุข
คำสำคัญ:
สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 , ความคาดหวัง, นักวิชาการสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะปัจจุบันและความคาดหวังต่อสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ที่พึงประสงค์ของนักวิชาการสาธารณสุข และ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะปัจจุบันและสมรรถนะที่คาดหวังต่อสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ที่พึงประสงค์ของนักวิชาการสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข ที่มีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ในเขตพื้นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนครและมีประสบการณ์การทำงานด้านสาธารณสุขอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะปัจจุบันและสมรรถนะที่คาดหวัง ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะปัจจุบันทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ความคาดหวังต่อสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ที่พึงประสงค์ทุกด้านอยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ระหว่างสมรรถนะปัจจุบันและสมรรถนะที่คาดหวังรายด้าน พบว่า ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสื่อสาร และด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างสมรรถนะปัจจุบันและสมรรถนะที่คาดหวังมากที่สุด เท่ากับ 1.15 (95%CI 1.07-1.24) 1.13 (95%CI 1.03-1.18) และ1.12 (95%CI 1.04-1.20) ตามลำดับ ดังนั้นการพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขควรพัฒนาสมรรถนะด้านการรู้เท่าทันสื่อ การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อรองรับมาตรการของสาธารณสุขในพื้นที่ชุมชนที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
References
อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง และรุ่งนภา จันทรา. “การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21: สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาล”. วารสารพยาบาลทหารบก. 20(1): 12-20; 1 มกราคม - เมษายน , 2562.
เยาวเรศ สมทรัพย์ และ อัชฌา วารีย์. “แบรนด์พยาบาลไทยในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายต่อวิชาชีพพยาบาล”.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 39(3): 169 – 178; กรกฎาคม – กันยายน, 2562.
พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พุทธศักราช 2556. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนที่ 118 ก. หน้า 19, (ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2556).
Partnership for 21st Century Learning. P21 Framework definitions. [cited 2020 Feb 26]. Available from http://www.p21.org. 2015.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135, ตอนที่ 82 ก (ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561).
ปริทัศน์ เจริญช่าง, สุวัฒนา เกิดม่วง และ สุรินธร กลัมพากร. “สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย”. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.26(1) :40-51; มกราคม – เมษายน, 2559.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: บริษัทประชุมช่างจำกัด. 2553.
ปริญญา จิตอร่าม. “การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะการแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชนของนักสาธารณสุขชุมชน”. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(1): 84 – 99; มกราคม–มีนาคม, 2563
Kristen Jogerst, Brian Callender, Virginia Adams, Jessica Evert, and Elise Fields. “Identifying Interprofessional Global Health Competencies for 21st- Century Health Professionals”. Annals of Global Health. 81(2): 239 – 247, March – April, 2015.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Psychological Measurement. 30, 607 – 610, 1970.
Best W. John. Research in Education. Boston MA. : Allyn and Bacon, 1997.
Elissa M. Abrams, and Matthew Greenhawt. “Risk Communication During COVID-19”. J Allergy Clin Immunol Pract. 8(6): 1791–1794, June 2020.
Hannah. H. Covert,a Mya Sherman,a Daniel Le,b and Maureen Y. Lichtveld. “Environmental health risk relationships, responsibility, and sources of information among Vietnamese Americans in coastal Mississippi”. Health Risk Soc. 22(5-6): 362–376. October, 2020.
Trilling, B., & Fadel, C. “21st century skills: Learning for life in our times”. San Francisco, CA: John Wiley & Sons, 2009.
D. Nutbeam. “Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century”. Health Promotion International. 5(2): 259 – 267. 2000.
คณะอนุกรรมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนที่พึงประสงค์ของสังคม. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: สภาการสาธารณสุขชุมชน; 2563. 193 หน้า.
ภมร ดรุณ, สมพร พุทธาพิทักษ์ผล, นิตยา เพ็ญศิรินภา, อารีย์ ชื่นวัฒนา. “การพัฒนากรอบสมรรถนะการรู้สารสนเทศด้านสุขภาพของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในประเทศไทย”. วารสารควบคุมโรค. 42(1): 67 – 78. มกราคม – มีนาคม, 2559.
สุนทรีภรณ์ ทองไสย. “พยาบาลกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 27(1): 112 – 119. กันยายน 2558 - กุมภาพันธ์, 2559.
รัตนา บรรณาธรรม. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมของข้าราชการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร”. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28(5): 915 – 924. กันยายน – ตุลาคม, 2562.