ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณรงค์วิชญ์ คำรังษี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมชาย จาดศรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

โรคข้อเข่าเสื่อมนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมและผู้สูงอายุที่มีอายุที่ได้รับคัดกรองว่าเป็นผู้มีภาวะข้อเข่าเสื่อม การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการคัดเลือกตามสะดวก (Convenience sampling) จำนวน 34 คู่ จะได้เข้าร่วมโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อม ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired     t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมผู้ดูแลผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยความรู้มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม 3.44 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) คะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม 6.47 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ามีระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม 9.86 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และมีระดับความเจ็บปวดข้อเข่าลดลง ร้อยละ 4.07 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)

 

          

References

1. ดวงเดือน ศรีมาลี.2554.สภาพปัญหาและพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของประชาชนในเขตบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลเมืองสรอง . วิทยานิพนธ์ปรัชญาการบริหารการพยาบาล.บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก
100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด, โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่, 2540.
3. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล ปริทรรศ ศิลปกิจ และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. คุณภาพชีวิตของคนไทยใน
ภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจ. ทุนสนับสนุนจากกรมสุขภาพจิต โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่, 2541.
4. พิพัฒน์ เพิ่มมูล.2553. ความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยข้อเข่า
เสื่อมในโรงพยาบาลศิริราช.ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสังคมและการจัดการสุขภาพ.บัณฑิตวิทยาลัยศิลปกร
5. ศิรินธร มังคะมณี.2521.ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล
ตนเองต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์.วิ ทยานิพนธ์(พย.ม.).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547
6. โชติกา สาระปัญญา,ปชาณัฎฐ์ พพันไทยทวีกุล.2562.ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สรรมถ
นะแห่งตนร่วมกับฟื้นฟูสรรถนข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม.หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. สิริภพ โตเสม.2561.ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ต่อการรับรู้สรรถนะแห่งตนใน
การปฎิบัติกิจกรรมทางกาย ความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. กฤชฎากมล ชื่นอิ่ม.2555.คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะข่อเข่าเสื่อมในชุมชน
สมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน. มหาวิยาลัย
คริสเตียน
9. นพ.อารี ตนาวลี.2558.อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุ .ภาควิชาออร์โธปฏิบัติการ
คณะแพทย์ศาสตร์.
10. สุวรรณี สร้อยสงค์.2561.อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ฉบับที่ 2
เม.ย.-มิ.ย. 62. หน้า 201กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.2546.คู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 6) นนทบุรี.โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
11. ฐิติมา อินทร์เนตร.2553.การพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของ
อาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข.บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล(โยธิน แสวงดี และคณะ, 2562 : 124-137. การดูแลผู้สูงอายุ. http://www.nancc.ac.th/pin.com/Import.php
12. โชติกา สาระปัญญา, ปชาณัฎฐ์ นันไทยทวีกุล ได้ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้
สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2560.
13. บังเอิญ แพรุ้งสกุล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุน
ทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2549.
14. สุภาณี แสงกระจาง . ผลของโปรแกรมสงเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก
และภาวะสุขภาพในผู้เป็นข้อเข่าเสื่อม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรงเทพฯ ุ :มหาวทยาลัยรังสิต; 2557.
15. สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน (2563) ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน 2563)
16. สิริวรรณ ธรรมคงทอง, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, นิภา มหารัชพงศ์ (2019) ศึกษาผลโปรแกรม
ออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความสามารถการใช้งานข้อต่อข้อเข่าการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม.วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562 ปีที่ 33 ฉบับออนไลน์.
17. ดลปภัฎ ทรงเลิศ, รัถยานภิศ พละศึก และ นิศารัตน์ นรสิงห์.(2561). ศึกษาการพัฒนา
สมรรถนะของผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในการดูแลปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561.
18. กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ และประจวบ แหลมหลัก. (2561). ศึกษาผล
โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน 2561.
19. วีรวัตน์ จิตจูง.(2561). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
สมองโรงพยาบาลวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. คณะสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต/ศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเกิร์ก
20. อิสราภรณ์ รัตนโภคภัณฑ์(2560) ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลเท้าต่อการรับรู้
สมรรถนะและพฤติกรรมในการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์. 2560
21. นิภาพร คนเชี่ยว. (2560) ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและ
การมีส่วนร่วมของสามีต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำใรมารดาวัยรุ่น. สาชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2560
22. Erbahceci F, Dursun E. 521 effects of physiotherapyand rehabilitation program on muscle
strength,quality of life, pain, stiffness, and physical function in women with knee osteoarthritis[abstract]. Osteoarthritis Cartilage 2008;16:S223.
23. Yilmaz H, Polat HAD, Karaca G, Kuçukşen S,Akkur HE. Effectiveness of home
exerciseprogram in patients with knee osteoarthritis.Eur J Gen Med 2013;10:102-7
24. Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06