การประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในเด็กวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ วีระเดช ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • ละอองดาว วงศ์อำมาตย์

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก , การป้องกันโรค , โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรค, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

การประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในเด็กวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 1,365 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และป้องกันโรคในโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรอบรู้สุขภาพช่องปาก พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพื้นฐานเฉลี่ย 20.45 คะแนน ด้านการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน ใน 5 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก พบว่า ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและเขต อบต. ใช้ประปาภูมิภาค ร้อยละ 61.1 ร้านค้าในโรงเรียนเป็นสหกรณ์โรงเรียน ร้อยละ 72.2 มีแผนการเรียนการสอนโดยสอดแทรกความรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 100.0 จุดบริการน้ำดื่ม ส่วนมากมีตู้กดน้ำเย็น ร้อยละ 66.7 มีจุดบริการน้ำดื่มมีเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ร้อยละ 72.2 มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำดื่มทางกายภาพ ร้อยละ 55.6 มีอ่างแปรงฟันหรือบริเวณแปรงฟันที่ถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 100.0 น้ำที่ใช้ในการแปรงฟันสะอาด ร้อยละ 94.4 มีการจำหน่วยน้ำอัดลม ร้อยละ 16.7 เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินร้อยละ 5.0 (วัดจากเครื่องตรวจน้ำตาล) ร้อยละ 16.7 และลูกอม ร้อยละ 5.6 ส่วนใหญ่จำหน่ายเวลากลางวัน ร้อยละ 50.0 มีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกชั้น ร้อยละ 72.2 มีกิจกรรมย้อมสีฟันเพียง ร้อยละ 27.8 โดยมีแกนนำ/ครูตรวจความสะอาดหลังการแปรงฟัน ร้อยละ 83.3  ส่วนมากเป็นครูประจำชั้น ร้อยละ 53.3  และนักเรียนแกนนำ ร้อยละ 46.7 จากผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในเด็กวัยเรียน ประกอบการวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มวัยเรียน

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2558.

อนุพงษ์ สอดสี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับประสบการณ์รักษาทางทันตกรรมของนักเรียน ประถมศึกษา ชั้นปีที่ 4-6 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน; 2563, 2(1): 18-28.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด, 2561.

World Health Organization. WHO’s Global School Health Initiative. Health-promoting School. A Healthy setting for living, learning and working. Geneva: World Health Organization; 1998.

กลุ่มพัฒนาทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยและวัยเรียน สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานโครงการการประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในโรงเรียน. สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2550-2555 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2563.

World Health Organization. Regional Office for the Eastern Mediterranean; 2112.

Mariko Naito. Health literacy education for children: acceptability for a school- based program in oral health. Journal of Oral Science 49(1):53-9. April 2007.

กิตติคุณ บัวบาน. การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2561; 23(1): 12-25

จินดา พรหมทา. พัฒนาการการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษาตามโครงการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยของอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2559; 21(1): 79-86.

จุฑารัตน์ รัศมีเหลืองอ่อน. การพัฒนาการส่งเสริมทันตสุขภาพในลักษณะเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ตำบลทรายมูล-หนองกุง โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2559; 28:114-131

วัฒนา ทองปัสโณว์. การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2557-2559. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26(6): 1039-1051

วิมลสิริ พรหมมูล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้านปราสาท ตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.

สิยาภา พนังแก้ว วัชรสินธุ์ เยาวภา ติอัชสุวรรณ และสุรเดช ประดิษฐบาทุกา. ปัจจัยระดับบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอําเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4, 2557.

บังอร กลํ่าสุวรรณ์ และปิยะนุช เอกก้านตรง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน ใน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ก้าวสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 และ 12. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น; 2552, 3(1): 99-113

อรพินท์ ภาคภูมิ และ กันยารัตน์ สมบัติธีระ. การสํารวจสภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น; 2554, 2: 37-48

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31