ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา คณะวาปี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เกศินี สราญฤทธิชัย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เด็กวัยเรียน, ภาวะน้ำหนักเกิน, โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

โรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญในเด็กวัยเรียนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและต้องป้องกันเพื่อลดอัตราการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสามกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 114 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง A กลุ่มทดลอง B และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวนกลุ่มละ 38 คน กลุ่มทดลอง A ได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มทดลอง B ได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์

ผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วน   เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง B มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน 1.ด้านความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 2.7, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 1.3, p <0.001)  2.ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 3.2, p <0.001)) และกลุ่มเปรียบเทียบ (mean diff : 1.23, p <0.001) 3.ด้านทักษะการสื่อสารในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 7.2, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 2.9, p <0.001) 4.ด้านการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 9.1, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 3.1, p <0.001) 5.ด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff :  6.5, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff :  1.9, p <0.001) และ6.ด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 10.0, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ (mean diff :  5.0, p <0.001) กลุ่มทดลอง B มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วน 1.พฤติกรรมการบริโภคอาหาร แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff :  8.2, p <0.001) และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 4.5, p <0.001) 2.พฤติกรรมการออกกำลังกาย แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 6.4, p <0.001)) และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 4.4, p <0.001) และพบว่าค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่ลดลงระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มและกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่แตกต่างกัน (p =0.67) โดยสรุปผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมนี้ สามารถเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนได้ ดังนั้น จึงควรมีการนำไปประยุกต์ใช้ในเด็กวัยเรียนกลุ่มอื่นๆ ได้

References

World Health Organization. Childhoodover

weight and obesity [internet]. 2017 [ Cited 2017 August 30] .Available form http://www. who.int/diet physical activity/ childhoch/en

สำนักโภชนาการ. (2558). แนวทางการคัดกรองส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาสถานบริการสาธารณสุขและคลินิก DPAC. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

สำนักโภชนาการ. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วน ในเด็ก. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข.รายงานภาวะโภชนาการงานอนามัยโรงเรียน[internet]. [20 มิถุนายน 2562].https://hdcse

rvice.moph. go.th/hdc/ reports//page.php

?cat_id=67f8b1657bc8c796274fb9b6ad5a70

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557).คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ(Health Literacy)เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

Nutbeam D. Health literacy as a publichea

lthgoal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 2000 Sep 1;15(3):259–67

เกศินี สราญฤทธิชัย.(2563).ความรอบรู้ด้านสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (Health Literacy :Concept,Theories and Applications) :คลังนานาวิทยา.

กรมอนามัย. (2561). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School : HLS). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Edgar Erdfelder. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007, 39 (2), 175-191

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, สมบัตร ทีฑทรัพ. ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัดมหาชน, 2560.

สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์, 2553.

อรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในอําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://www.mnrh.go.th/pdf_file_acade

mic/ academic_25640818-01.pdf

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง.(2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.วารสารสุขศึกษา,42 (2),23-25.

วรานันทน์ ดีหอมศีล.(2556).ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการลดน้ำหนักนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน ในจังหวัดสมุทรปราการ.วารสารสุขศึกษา,34,(118)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-23