ความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
อุบัติเหตุ, จักรยานยนต์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางด้วยจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษา 30 จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เดินทางด้วยจักรยานยนต์ไปโรงเรียนทั้งสิ้น จำนวน 991 คน โดยศึกษาในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 มกราคม พ.ศ. 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multiple Logistic Regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา พบว่า มีนักเรียนตอบแบบสอบถาม จำนวน 920 คน (ร้อยละ 92.7) จำแนกเป็นกลุ่มที่เคยเกิดอุบัติเหตุ จำนวน 114 คน หรือมีความชุกของการเกิดอุบัติเหตุร้อยละ 12.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ความเร็วมากกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ORadj=3.01, 95%CI=1.97-4.58, p<0.001) การขับขี่รถจักรยานยนต์ที่โดยมีคนนั่งเกิน 2 คน (ORadj=2.00, 95%CI=1.18-3.38, p=0.001) รถจักรยานยนต์ไม่มีกระจกมองข้าง หรือมีแต่ใช้การไม่ได้ (ORadj =3.43, 95%CI=2.08-4.89, p= 0.005)
ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการจราจร สร้างความตระหนักถึงอันตรายและวิธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขับขี่รถจักรยานยนต์ การอบรมทำใบขับขี่ให้นักเรียน พร้อมทั้งจัดให้มีการตรวจสภาพของรถจักรยานยนต์ของนักเรียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่ารถจักรยานยนต์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
References
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. GLOBAL STATUS REPORT ON ROAD SAFETY 2020. Geneva
WHO; 2020.
กรมควบคุมโรค (2563). สถานการณ์การบาดเจ็บบนถนนของประเทศไทย [ออนไลน์]. 2563 [อ้างเมื่อ 12 ตุลาคม 2563]. จาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=731.html
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สถิติอุบัติเหตุจราจรทางบก [ออนไลน์] 2558 [อ้างเมื่อ 30 ตุลาคม2563].จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries21.html
มูลนิธิเมาไม่ขับ. (2559). สถิติอุบัติเหตุในประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2559 [อ้างเมื่อ 31 สิงหาคม 25633 5. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร (2563). สถิติอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดชัยภูมิ]. [ออนไลน์]. 2563 [อ้างเมื่อ 22 ตุลาคม 2563]. จากhttps://www.hiso.or.th
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ.(2563). ข้อมูลสถิต ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ. [ออนไลน์]. 2563 [อ้างเมื่อ 11 ตุลาคม 2563] จาก http://www.thairsc.com
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอภูเขียว. รายงานการสำรวจรถจักรยานยนต์นักเรียนอำเภอภูเขียว ปี 2561-2563, 2563
อลงกรณ์ ศรีเลิศ. (2559). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ใน กลุ่มนักศึก มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร. 19(2). 216-223.
เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา และคณะ, (2542). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร. 17(2). 125-131 10. สรศักดิ์ ตันทอง, กาญจนา นาถะพินธุ. (2560). ความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติ อุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการ สคร. 10. 25(2). 67-77.
Vorko-Jovic A. Kern J, Biologlav Z.Risk factor in urban road traffic accident. Journal of Safety
Research, 37, 93-98.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่12) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 (วันที่ 19 พฤษภาคม 2562). ข้อ 3 (1)
วีระ กสานติกุล และคณะ. (2545). รายงานการวิจัย เรื่องอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย และ มาตรการการแก้ไข. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.