ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • จิรารัตน์ สิงทองทัศน์
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต
  • พัดชา หิรัญวัฒนกุล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ    เพื่อป้องกันโรคโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรกลุ่มวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 52.0) และเพศชาย(ร้อยละ48.0) มีอายุระหว่าง 45-54 ปี ปัจจุบันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 46.0) โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 50 คน ทั้งนี้จัดให้กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วยการตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิก่อน การทดลอง การอบรมให้ความรู้ การจัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเยี่ยมติดตามให้คำแนะนำ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ จากนั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent  t-test

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และหลังการทดลองกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และพบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ (p-value = 0.018) ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (p-value = 0.119) และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ (p-value = 0.343) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยในกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ     ทางสถิติ (p-value<0.05) และอัตราป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับลดลงต่ำกว่าร้อยละ 5 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโปรแกรมนี้ เป็นผลมาจากความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มทดลอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะพฤติกรรมการกินอยู่ ซึ้งทำให้เกิดความเข้าใจและการตัดสินใจเลือกปฏิบัติอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับสำหรับประชาชนเพื่อ เป็นแนวทางในการดำเนินงานในชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศิรติธรรม ออฟเซ็ท.

กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2541). คู่มือการตรวจโรคหนอนพยาธิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2545). ปรสิตหนอนพยาธิทางการแพทย์ ทฤษฎีและ ปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). สถิติเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ประจำปี พ.ศ. 2555. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์ และนารีรัมย์ รัตนสัมฤทธิ์.(2557). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กลุ่มโรคหนอนพยาธิ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2552). รายงานผลการศึกษาสถานการณ์ โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย ปี 2552. กรุงเทพฯ: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2542). แนวคิด ทฤษฎี และ

การนำไปใช้ในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวง สาธารณสุข.

กาญจนา ฮามสมพันธ์. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิ ใบไม้ตับของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิตติพงษ์ พรมพลเมือง. (2557). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนใน พื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 53 - 62.

กิตติพงษ์ ศรกล่อม, วงศาเล้าหศิริวงศ์, ไพบูลย์ สิทธิถาวร และวิไลพร คิดคำรพ. (2562). ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ความรู้และพฤติกรรมที่มีต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เด็จเดียว วรรณชาลี. (2552). ผลของแรงจูงใจและป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทักษนัย พัศดุ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และนันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. (2562). กระบวนการพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของชุมชน ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.

ประสิทธิ์ วัฒนาภา และชวลิต ไพโรจน์กุล. (2545). โครงการประมวลองค์ความรู้เพื่อการวิจัยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี พยาธิใบไม้. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะ เสรีรักษ์. (2557). การประเมินประสิทธิภาพขนาดของยาพราซิควอนเทลในการรักษาโรคพยาธิ ใบไม้ตับในแมว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพัฒน์ ภูนากลมและ ทักษนัย พัสดุ. (2562). กระบวนการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ และ โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์.

ภาคภูมิ สรรพวุธ. (2556). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้บุคคลต้นแบบร่วมกับการใช้สื่อหมอลำพื้นบ้านต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของกลุ่มเสี่ยงบ้านดอนเขือง ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนาซิง. (2562). สรุปรายงานผลการดำเนินงานผลการควบคุมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาซิง ปี 2562. มุกดาหาร: โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลนาซิง.

วันทนา กลางบุรัมย์ และกรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. (2555). การสังเคราะห์องค์ความรู้ ปัจจัยที่มีผลต่อ การติดเชื้อซ้ำโรคพยาธิใบไม้ตับ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ศิวาพร พิมพ์เรือง. (2557). การรับรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคพยาธิ ใบไม้ตับที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวด์ อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สาธิต เสติ. (2552). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(2), 9–22.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนตาล. (2562). สรุปรายงานผลการดำเนินงานผลการควบคุมป้องกัน โรคพยาธิใบไม้ตับ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ปี 2562. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สํานักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2552). รายงานผลการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สํานักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). รายงานประจำปี 2554 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22