การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเน้นสร้างความรอบรู้ของครูพี่เลี้ยงเรื่อง 4D เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็ก ให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย สังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศิริพรรณ บุตรศรี -
  • ปาริชาต ชรากาหมุด

คำสำคัญ:

หลักสูตรครูพี่เลี้ยงเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4D, ครูพี่เลี้ยง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ได้กำหนดให้ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนพัฒนาคุณภาพบริการ ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารจัดการ ด้านกระบวนการดูแลจัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่น  และด้านคุณภาพเด็กปฐมวัย ครูพี่เลี้ยงจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กปฐมวัย จึงควรได้รับการพัฒนาศักยภาพและสร้างความรอบรู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย พร้อมเรียนรู้ส่งมอบเด็กปฐมวัยคุณภาพส่งเด็กวัยเรียนต่อไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรมเน้นสร้างความรอบรู้ของครูพี่เลี้ยงเรื่อง 4D เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย สังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4D ของครูพี่เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน ระยะที่ 2 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเน้นสร้างความรอบรู้ของครูพี่เลี้ยงเรื่อง 4D  ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุม 30 ราย การสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti-stage sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แบบประเมินความรอบรู้สุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย 4D (2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรสร้างความรอบรู้การดูแลสุขภาวะเด็กปฐมวัย (3) หลักสูตรครูพี่เลี้ยงความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4D เด็กก่อนวัยเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล ได้แก่ t-test ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเหมาะสมหลักสูตรฝึกอบรมเน้นสร้างความรอบรู้ของครูพี่เลี้ยงเรื่อง 4D เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย  (  =2.73, SD. = 0.19) 2) ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย 4D และความรอบรู้ด้านสุขภาพ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และและกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเน้นสร้างความรอบรู้ของครูพี่เลี้ยงเรื่อง 4D เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย สังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานครระดับมาก (  = 4.19, SD. = 0.52)

References

ฐิติมา ชูใหม่. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. Hua Hin Medical Journal, 1(2), 18–33. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก:https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/175062

หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวน วรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561; 5, 281-296.

Sanders, LM.; Lewis, J.; Brosco, JP. Low Caregiver Health Literacy: Risk Factor for Child Access to a Medical Home. Pediatric Academic Societies; 2007.

รายงานผลฉบับสมบูรณ์ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ (MICS6).สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร; 2563.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณาญาณ. กรุงเทพมหานคร:อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน); 2562.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กระบวนการ ปฏิบัติการ เครื่องมือประเมิน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2019/3/21360_2_1551673939396.pdf

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W.. Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 1970; 30(3), pp. 607-610.

Bloom B. Taxanomy of educational objectives. The classification ofeducational goal. Handbook II:affective domain. New York: David Makay Co Inc., 1964.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.

Saylor, J.G., W. Alexander and A. J. Lewis. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Netwong, T. (2016). Development of Reading Promotion Activities Model to Enhance Reading Habit and Life Skill: Health Mind and Body for Early Childhood. SDU research Journal of

Humanities and Social Sciences, 12(3), 95-111. (in Thai)

พิภพ ธรรมประชา. (2550). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัด ประสบการณ์ระดับปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงมหาดไทย. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2550). แนวการจัดกิจกรรมเตรียมประสบการณ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

จำเริญ จิตรหลัง. (2552). “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้,” วารสารวิชาการ.12(3): 19-20; กรกฎาคม-กันยายน.

บุหลง ศุภศิลป์. (2559). รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการฟัง – พูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา และการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06