ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การหกล้ม, พฤติกรรมป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ และศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยพื้นที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ไม่น้อยกว่า 1 ปี ที่ผ่านการประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันมีผลรวมคะแนน ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป จำนวน 346 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบคัดกรองและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านปัจจัยนำ พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ประโยชน์ ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในเขตตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ด้านปัจจัยเอื้อ พบว่า การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการเข้าถึงสถานบริการทาง ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในเขตตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ด้านปัจจัยเสริม พบว่า การได้รับการสนับสนุนจากสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในเขตตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงกึ่งทดลองเพื่อพัฒนาโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้การรับรู้ในด้านต่างๆ รวมถึงการให้การสนับสนุนจากสังคมหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้ามาอยู่ในโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เกิดป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ
References
มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://fopdev.or.th
นิพา ศรีช้าง และลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 -2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.
ลัดดา เถียมวงศ์, และจอม สุวรรณโณ. ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวบกพร่องของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 6(2): 56-66.
Stevens, J.A. Fall among older adults risk factors and prevention strategies. Journal of Safety Research 2005; 36(4): 490-511.
นงนุช วงศ์สว่าง, ดนุดา จีนขาวขำ, ชลธิชา บุญศิริ, สุรินทร์ มีลาภล้น, จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์, เพ็ญจมาศ คำธนะ, และธานี กล่อมใจ. ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 2560; 10(3): 2492-2506.
กนกวรรณ เมืองศิริ, นิภา มหารัชพงศ์, และยุวดี รอดจากภัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
Anne Shumway-Cook, Margaret Baldwin, Nayak L Polissar, William Gruber, Predicting the Probability for Falls in Community-Dwelling Older Adults, Physical Therapy 1997; 77(8): 812–819.
ปริศนา รถสีดา. การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารสภากาชาดไทย 2561; 11(2): 15-25.
อัจฉรา สาระพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18(พิเศษ): 215-222.
นงพิมล นิมิตรอานันท์, วิชุดา กลิ่นหอม, เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ และชลทิพย์ ทิพย์แก้ว. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2563; 21(2): 389-399.
ณัฐชยา พวงทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.