ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ศริณธร มังคะมณี
  • สุพิศ บุญลาภ
  • วนิดา ชวเจริญพันธ์
  • อ้อมใจ พลกายา
  • กนิพันธ์ ปานณรงค์
  • ลิลิต ศิริทรัพย์จนันท์

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ปัจจัยส่วนบุคคล, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนไทยที่สูบบุหรี่และเคยสูบที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 3อำเภอ ได้แก่ อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอเมืองปทุมธานี จำนวน 468 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ chi-square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย อายุ  20-30 ปี การศึกษาปริญญาตรีเป็นโสด ไม่มีบุตร สมาชิกในครอบครัว 4 คน เป็นนักศึกษา รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท สูบบุหรี่ไม่เกิน 5 ปี เคยเลิกบุหรี่ 1-3 ครั้ง คนรอบข้างที่สูบบุหรี่จำนวน 1-3 คน สูบบุหรี่ยี่ห้อ LM เป็นประจำ และไม่มีสวัสดิการ/จ่ายเองในการรักษาพยาบาล ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสูบน้อยกว่า 5 มวนต่อวัน สูบไม่เลือกเวลา และสูบเป็นประจำทุกคน ในทุกที่ที่สะดวก ใช้จ่ายค่าบุหรี่ 100-499 บาทต่อเดือน แต่เมื่อมีเด็กเล็กอยู่ใกล้จะงดสูบ แต่เมื่อรู้สึกว่าเครียด และดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้สูบมากขึ้น การที่ต้องร่วมงานสังสรรค์/เข้าสังคมเพื่อนคือเหตุผลที่ทำให้เลิกไม่ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าเจ็บหน้าอกจะงดสูบชั่วคราว เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่อปริมาณการสูบบุหรี่ต่อวัน พบว่ามีระดับการศึกษา ระยะเวลาสูบบุหรี่ การเคยเลิกสูบบุหรี่  จำนวนคนรอบข้างสูบบุหรี่  สวัสดิการรักษาพยาบาล ที่มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประเภทของบุหรี่มี อาชีพ  สมาชิกในครอบครัวรวมตนเอง จำนวนคนรอบข้างสูบบุหรี่ สวัสดิการรักษาพยาบาล และความถี่ในการสูบบุหรี่ มีอาชีพ รายได้มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

เบญจวรรณ ช่วยแก้ว โสภิต สุวรรณเวลา และ

ณัฐชานนท์ สงสุข. (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม

การสูบบุหรี่ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา จังหวัดตรัง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม, 93-103.

ไพฑูรย์ วุฒิโส ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ และบวรวิช รอดรังสี. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาลThai Journal of Nursing, 71(1), 1-9.

ภูเบศ วณิชชานนท์. (2018). ความสัมพันธ์ของปัจจัยสภาพแวดล้อมและนโยบายกับความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่ของนักสูบไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม หน้า 223-235.

รัชนี วีระสุขสวัสดิ์ และคณะ .(2556). ความชุกในการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสรรพสิทฺธิเวชสาร ปีที่ 34 ฉบับที่ 1-3 เดือนมกราคม-ธันวาคม, 13-25.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อภิณัฐ ช้างกลางและ พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2018). การวิเคราะห์สาเหตุเชิงพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตหญิง ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 กรกฎาคม หน้า 111-129.

อนุวัฒน์ ชลไพศาล. (2020). ภาระภาษีบุหรี่ไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 78 มกราคม-เมษายน หน้า 167-177.

Chen, D.T. (2020). The psychosocial impact of the COVID-19 pandemic on changes in smoking behavior: evidence from a nationwide survey in the UK. Tobacco Prevention and Cessation, 6,

-5.

Lesueur, F.E., Bolze, C. & Melchior, M. (2018). Factors associated with successful vs. unsuccessful smoking cessation: data from a nationally representative study. Addictive Behavior, 80, 110-115.

Wang, Q., Shen, J.J., Sotero, M., Li, C.A. & Hou, Z. (2018). Income, occupation and education: are they related to smoking behavior in China?. PLOS One, 13(2): e0192571.

Yang, T., et.al. (2007). Attitudes and behavioral response toward key tobacco control measures from the FCTC among Chinese urban residents. [Online]. BMC Public Health, 7,248. Retrieved from http://www.biomedcentral.com/1471-2458/7/248

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12