The บทบาทของพยาบาลชุมชนในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • เจตจรรยา บุญญกูล
  • วิภา สุวรรณรัตน์
  • วรรณลี ยอดรักษ์

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาลชุมชน , การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ , การป้องกันโรค , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แบบแผนการดำเนินชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และสังคมโลกเป็นอย่างมาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญของบุคคลทุกช่วงวัยในชุมชน ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์ทางสุขภาพ และเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการดูแลสุขภาพ ผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจะสามารถใช้ทักษะที่จำเป็นในการ เข้าถึง ทำความเข้าใจ การสื่อสาร การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ และการตัดสินใจนำไปใช้สารสนเทศทางด้านสุขภาพ ในยุคดิจิทัลประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อได้หลากหลายประเภทของข้อมูลทำให้เกิดการบิดเบือนข้อเท็จจริงซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ พยาบาลชุมชนเป็นบุคลากรสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนในทางที่ถูกต้อง  บทบาทพยาบาลชุมชนยังครอบคลุมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ดังนั้นบทบาทของพยาบาลชุมชนในด้านส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนจึงมีความสำคัญท่ามกลางการระบาดเพื่อความมั่นคงของชุมชนและประเทศชาติต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เล่มที่ 2). [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก http://35.190.29.12/uploads/publish/1167320210804081719.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2563. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/10020200514102630.PDF

กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและดูแลตัวเองในสถานการณ์โรคโควิด 19. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1173420210903054846.pdf

ปิยะนุช จิตตนูนท์ และอุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ. การพยาบาลสุขภาพชุมชน : มิติการจัดบริการ. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา ; 2559.

วัลลภา ดิษสระ และบุญประจักษ์ จันทร์วิน. พยาบาลกับการจัดการป้องกันและการควบคุมการ ระบาด COVID-19 ในชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์; 2563, 8(12). p. 89-104.

จิระภา ขำพิสุทธิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 2021, 7.04: 17-17.

นวพร วุฒิธรรม พิมพ์นิภา ศรีนพคุณ และสุภาพร เชยชิด. บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564, 49(1). p. 340-352.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2565 จาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650301194159PM_CPG_COVID-19_v.20.4_N_20220301.pdf

พานทิพย์ แสงประเสริฐ. แนวคิดและหลักการพยาบาลอนามัยชุมชน. ใน: ลภัสรดา หนุ่มคำ, บรรณาธิการ. การพยาบาลอนามัยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด; 2555.

อรวรรณ นามมนตรี. (2018). ความ รอบรู้ ด้าน สุขภาพ (Health literacy). Thai Dental Nurse Journal; 2018, 29(1). p. 122-128.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine; 2008, 67(12). p. 2072-2078.

Mancuso J. M. Health literacy: a concept/dimensional analysis. Nursing & health sciences; 2008, 10(3). p. 248-255.

Nilnate W, Hengpraprom S, Hanvoravongchai P. Level of health literacy in Thai elders, Bangkok, Thailand. Journal of Health Research; 2016, 30(5). p. 315-321.

สิรินันท์ ชูเชิด นภาพร วาณิชย์กุล สุพร ดนัยดุษฎีกุล และชัยวุฒิ ยศถาสุโรดม. ความสัมพันธ์ระหว่าง ความแตกฉานทางสุขภาพ ความรุนแรงของโรค ความรับผิดชอบของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์; 2559, 34(1). p. 94-106.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international; 2000, 15(3). p. 259-267.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. Nursing Journal of the Ministry of Public Health; 2016, 25(3). p. 43-54.

Manganello J. A. Health literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health education research; 2008, 23(5). p. 840-847.

กรมควบคุมโรค. คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1188920211018040126.pdf

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review; 1977, 84 (2). p. 191-215.

ชัยณัฐ สุรพิชญ์พงศ์ และสุชัย สุรพิชญ์พงศ์. การส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19): แนวคิดและแนวทางปฏิบัติ. Journal of Psychology; 2021, 19(1). p. 68-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12