- ผลของการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดบึงกาฬ หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง (กรมอนามัย)

ผู้แต่ง

  • ไกรษร จุลโยธา

คำสำคัญ:

อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น, ผู้สูงอายุ, หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดบึงกาฬ หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง (กรมอนามัย) ครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ หลังการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง (กรมอนามัย) ในด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ แรงจูงใจในการจัดการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ และคุณลักษณะในการเป็นอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ทำการศึกษาในกลุ่มอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 112 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 12 สัปดาห์ โดยมีกิจกรรมอบรมตามหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง (กรมอนามัย) เสริมด้วยกิจกรรมฝึกการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ และดูวีดีโอสาธิตการทำอาหารและออกกำลังกาย รวมถึงมีการลงฝึกภาคปฏิบัติในสถานพยาบาลและชุมชนด้วย ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ แรงจูงใจในการจัดการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ และคุณลักษณะในการเป็นอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) 

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 29 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/

Press_Release/2561/N10-04-61-1.aspx

เนติยา แจ่มทิม, สินีพร ยืนยง ,ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ก.ย.-ธ.ค. 2559;25(3):108-119.

ขวัญสุมาณา พิณราช, สุมณฑา สิทธิพงษ์สกุล, ศรีสุรางค์ พัฒธนานุรักษ์, อัญชลี นวลคล้าย, สุรีวัลย์ วรอรุณ. การพัฒนารูปแบบผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจิตสาธารณะ. รายงานสืบเนื่องประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 12:การวิจัยนวัตกรรมสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทย.มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. 2561;455-468.

อภิวรรณ กำจร. การศึกษาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลังผ่านอบรมหลักสูตร ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง ของศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. ก.ค.-ธ.ค. 2564;16(2):122-135.

กอบกุล มาดีคาน, ระย้า พัดภู, ชุษณีนาฎ แปงการิยา. ผลของการพัฒนาความรู้และทักษะของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.172/

academic/web/files/2564/r2r/MA2564-002-02-0000000420-0000000334.pdf

กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, ประจวบ แหลมหลัก. ผลโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ม.ค.-มิ.ย. 2561;12(1):275-291.

ชูชาติ ฝั้นเต็ม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ระดับตำบลของจังหวัดอุตรดิตถ์ [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://202.29.52.112/dspace/bitstream/123456789/128/1/60552790103.pdf

ณรงค์วิชญ์ คำรังสี, สมชาย จาดศรี. ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. เม.ย.-มิ.ย. 2565;8(2):97-110.

อรรณพ สนธิไชย, ถนอมศักดิ์ บุญสู่, ปณิตา ครองยุทธ. สมรรถนะที่จำเป็นของนักบริบาลผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. พ.ค.-ส.ค. 2563;2(2):37-48.

อภิชาติ รอดสม, จุรีรัตน์ กิจสมพร, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. การศึกษาคุณลักษณะของผู้ดูแลตามความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. เม.ย.-ส.ค. 2558;8(2):122-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22