การพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนชั้น ป.4 – 6 ในโรงเรียนบ้านเหล่าติ้วตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา ปากดี
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพช่องปาก, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6, การพัฒนากระบวนการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ความรู้ พฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากและสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านเหล่าติ้ว ตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามและบันทึกการตรวจสภาวะทันตสุขภาพ สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด

        ผลการศึกษา พบว่า เพศหญิง ร้อยละ 57.8 อายุ 11 ปี ร้อยละ 39.1 กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 44.4 ผู้ดูแลเด็กนักเรียน คือ พ่อหรือแม่ ร้อยละ 46.7 การศึกษาของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 57.8 ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 57.8  มีความรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ71.1 รองลงมาความรู้ในระดับดี ร้อยละ 20.0 เป็นความรู้เรื่องฟันและเหงือก ร้อยละ 88.9 เป็นความรู้เรื่องโรคในช่องปาก ร้อยละ 93.3 และความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในช่องปาก ร้อยละ 91.1 การปฏิบัติด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.2  รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 42.0  ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีหินปูนมากที่สุด ร้อยละ 60.0  การผุของฟันแท้ ร้อยละ 57.8 เหงือกอักเสบ ร้อยละ 57.8  และฟันแท้ที่ถอน ร้อยละ 57.8

          ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนยังมีความรู้ และการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง มีสภาวะทันตสุขภาพที่เป็นปัญหา ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ คือ ให้ทันตสุขศึกษาตามโรงเรียนโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขและการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพในนักเรียนอย่างต่อเนื่องคือ ให้มีการจัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและไม่มีขายขนมและน้ำอัดลมในเขตโรงเรียน มีการรักษาทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่องสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทันตสุขภาพ โดยสรุป กระบวนการพัฒนาระบบบริการครั้งนี้  เป็นผลสำเร็จจากการปรับการพัฒนากระบวนการ การดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –  6 โรงเรียนบ้านเหล่าติ้ว ในตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นกระบวนการกิจกรรมที่ครบวงจรทั้งระบบ เน้นการทำงานแบบเชื่อมโยงมีส่วนร่วมกับชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยมีกลไกการสนับสนุนที่ดีของหน่วยบริการและทีมผู้ดูแลทั้งในและนอกสถานบริการ

References

กลุ่มงานทันตสาธารณสุขอำเภอสุวรรณภูมิ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปลือยน้อยรายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ทส.003. งานทันตสาธารณสุข. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปลือยน้อย ตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด,2563.

กองทันตสาธารณสุข.รายงานผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2543-2544. นนทบุรี: กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,2544.

กองทันตสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,2560.

ทรงวิทย์ จโรภาสรัตน์.การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากสำหรับผู้มารับบริการทันตกรรมในผู้ใหญ่ในบริบทของสังคมไทยในจังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2562.

ทิพนาถ วิชญาณรัตน์ และคณะ.การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานและความรู้ในนักศึกษาทันตแพทย์.วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 23(2), May-August,2563.

นภาพร วาณิชย์กุล.นำร่องความรอบรู้ทางสุขภาพช่องปากในประชากรไทยวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานี. วารสารทันตาภิบาล, 29(2), 13-25,2562.

อนุพงษ์ สอดสี, ภาสกร ศรีไทย และธีราภรณ์ พนาวัลย์.ความฉลาดทางสุขภาพช่องปากและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในความร่วมมือกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารคณะพลศึกษา, 20(2),

-158,2560.

Antonio, A. G. et al.Oral health conditions in children with and without school-based oral preventive program. Pediatric Dental Journal, 16(2),163-169,2006.

Boer, H. & Seydel, E.R.Protection Motivation Theory. In M. Conner, &

P. Norman (Eds.), Predicting Health Behaviour: Research and Practice with Social Cognition Models. (Eds.) Mark Conner: Open University Press,1996.

Chingchai Buathong et al.The effects of oral health promotion program on dental caries prevention behaviors of grade six students at Ban Banghean School at Plaipraya District, Krabi Province. Journal of Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 3(2), 293-306,2015.

Greene & Vermillion.The simplified Oral Hygiene index. The Journal of the American Dental Association, 68, 7-13,1960.

Kemmis & McTaggart.แนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. The Learning Organization 9(3), 125-131,1988.

Lai, H. et al.School-based oral hygiene education program has long-term positive effects on oral health Indicators. The Journal Evid Base Dent Pract 2017, 65-67,2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10