การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี แสนสุข
  • จินตนา พลมีศักดิ์
  • นริศรา อารีรักษ์
  • ถนอม นามวงศ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง, ระบบสุขภาพชุมชน, ระบบบริการสุขภาพ, ไร้รอยต่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 3 ระยะ 1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหา 2) การพัฒนาระบบสุขภาพ และ 3) สรุปและประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทุกคน ในพื้นที่อำเภอเมืองยโสธร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Z-test ส่วนข้อมูลคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ดำเนินการเดือนกรกฎาคม 2564 - มิถุนายน 2565 ผลการศึกษา 1) ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง 18,818 คน จากทั้งหมด 20,994 คน คิดเป็นร้อยละ 89.6 พบความชุกของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 2.3 บริบทการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ยังขาดการเชื่อมต่อระบบการดูแลที่เป็นรูปธรรมและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 2) จากนั้นได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และชุมชน โดยมีการวางแผนดำเนินการร่วมกัน เกิดแผน 2 ระบบ (1) แผนพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน และ (2) แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จากนั้นดำเนินงานตามแผน 3) ผลการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ พบว่าผู้สูงอายุได้รับความรู้ ทราบช่องทางขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน เข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้เร็วขึ้น โดยได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 60 นาที และเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P-value <0.05) ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง ระบบที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพแบบไร้รอยต่อ ซึ่งมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลไกขับเคลื่อนระดับจังหวัด อำเภอ และชุมชน 2) ระบบข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย 3) การคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง 4) ระบบการส่งต่อผู้ป่วย 5) การดูแลแบบช่องทางด่วน 6) การดูแลรักษาเฉพาะทาง และ 7) การดูแลที่ต่อเนื่อง ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะผสมผสานและดูแลแบบครบวงจร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเอาระบบที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยนี้ ไปปรับใช้ในพื้นที่ตนเองได้

References

World Health Organization(WHO). Stroke, Cerebrovascular accident [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 12]. Available from: http://www.emro.who.int/health-topics/stroke-cerebrovascular-accident/index.html

สมชาย โตวณะบุตร, สุชาติ หาญไชยพิบูลย์กุล, ทัศนีย ตันติฤทธิศักดิ์, ธเนศ เติมกลิ่นจันทร, ลินดา เหล่ารัตนใส, จิดาภา ตรัยเจริญวงศ์. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) [ออนไลน์]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล:

พรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล. โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) [ออนไลน์]. คณะแพทยศาสตร์-มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2560 [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/106_2017-08-19.pdf

Suwanwela NC. Stroke Epidemiology in Thailand. Journal of Stroke. 2014;16(1):1–7.

ชูชาติ กลิ่นสาคร, สุ่ยถิน แซ่ตัน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;2(2):62–77.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง: ประชาคม ประชาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 6. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2543.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย [ออนไลน์]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.dop.go.th/th/know/1/275.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติรอบที่ 2/2564 จังหวัดยโสธร. ยโสธร; 2564.

มหาวิทยาลัยมหิดล. Thai CV risk score คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [ออนไลน์]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.rama.mahidol.ac.th/cvmc/th/thaicv

Hanchaiphiboolkul S, Poungvarin N, Nidhinandana S, Charnnarong-Suwanwela N, Puthkhao Msc P, Towanabut S, et al. Prevalence of Stroke and Stroke Risk Factors in Thailand: Thai Epidemiologic Stroke (TES) Study. J Med Assoc Thai. 2011;94(4):427–36.

Viriyavejakul A, Senanarong V, Prayoonwiwat N, Praditsuwan R, Chaisevikul R, Poungvarin N. Epidemiology of stroke in the elderly in Thailand. J Med Assoc Thai. 1998;81(7):497–505.

วิทวัส ศิริยงค์. ความชุกโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาล กาญจนดิษฐ์. วารสารวิชาการแพทย์. 2561;32(11):863–70.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, รชานนท์ ง่วนใจรัก. การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิงในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารควบคุมโรค. 2564;47(4):1005–15.

เขตสุขภาพที่ 10. แนวทางจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง Stroke, STEMI และ Hip fracture. อุบลราชธานี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2564.

จารุณี สุธีร์. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วย Stroke Fast Track ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ โรงพยาบาลยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(1):158–72.

ณีรนุช วงค์เจริญ, ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์, พิสิษฐ์ สมงาม. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(4):61–71.

รัตนพร สายตรี, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562;5(2):1–13.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, ลัดดาวัลย์ เตชางกูร, นวลใย พิศชาติ. ปัจจัยสนับสนุนระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อของเครือข่ายการพยาบาลโรคหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและ ทรวงอก. 2560;28(2):154–67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12