ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ชำนาญ มาลัย Yasothon Provincial Health Office
  • ถนอม นามวงศ์

คำสำคัญ:

วัคซีนโควิด-19, โรคเรื้อรัง, ปัจจัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการฉีดวัคซีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กระตุ้นเข็มที่ 3 ในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ใช้รูปแบบการศึกษา เชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) ดำเนินการระหว่างเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง ในพื้นที่จังหวัดยโสธร 2,874 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Multiple logistic regression ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.2 อายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 38.8 (Median 66, Min 16, Max 99) อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 67.2 มีรายได้อยู่ระหว่าง 1,000-2,999 บาท ร้อยละ 37.0 อัตราการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ร้อยละ 65.1 สาเหตุสำคัญที่ยังไม่ตัดสินใจฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 คือ กลัวแพ้วัคซีน ร้อยละ 62.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) มี 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุ [18-59 ปี กลุ่มอ้างอิง  (60-69 ปี ORadj 0.9, 95%CI 0.7 to 1.1;  80 ปีขึ้นไป ORadj 0.7, 95%CI 0.6 to 0.9)], การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง (ORadj 1.4, 95%CI 1.1 to 1.8), การรับรู้ประโยชน์ในการลดความรุนแรงหรือการเสียชีวิต (ORadj 2.1, 95%CI 1.6 to 2.8), การรับรู้ประโยชน์ในการเดินทางหรือเข้าใช้บริการสถานที่ต่าง ๆ (ORadj 1.6, 95%CI 1.1 to 2.4) และการได้รับข้อมูลหรือการชักชวนจากผู้นำชุมชน (ORadj 1.4, 95%CI 1.1 to 1.7) ควรนำผลการศึกษาจากการวิจัยนี้ไปกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 โดยเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับประโยชน์ของวัคซีนในการป้องกันโรค การลดความรุนแรงหรือการเสียชีวิต และการเปิดเผยข้อมูลถึงสาเหตุที่แท้จริงของผู้ที่สงสัยแพ้หรือเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน เพื่อให้ประชาชนเลือกตัดสินใจฉีดวัคซีนได้อย่างมั่นใจ รวมทั้ง ควรเพิ่มการมีบทบาทของผู้นำในชุมชนในการดำเนินงานในชุมชน และการกำหนดเงื่อนไขการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อประโยชน์ในการเดินทางหรือเข้าใช้บริการสถานที่ต่าง ๆ

References

ศูนย์ข้อมูลโควิด19 (ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19; ศบค.). ข้อมูลแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) วันที่ 5 เมษายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/pcb.535856308032698/535855348032794

กรมควบคุมโรค. COVID-19 Interactive Dashboard [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

ศูนย์สื่อสารโควิด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. สถานการณ์โควิด19 จังหวัดยโสธร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/SATYASOTHON/posts/2843696995910331

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Son; 1977.

จิราพร บุญโท. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารควบคุมโรค. 2565;48(1):22–32.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. โครงการส่งเสริมการเข้าถึงการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 จังหวัดยโสธร. 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/SATYASOTHON/posts/2843696995910331

Hosmer, D.W. and Lemeshow S. Applied logistic regression. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.; 2000.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operations Center, EOC) จังหวัดยโสธร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/SATYASOTHON

Hess S, Lancsar E, Mariel P, Meyerhoff J, Song F, van den Broek-Altenburg E, et al. The path towards herd immunity: Predicting COVID-19 vaccination uptake through results from a stated choice study across six continents. Soc Sci Med. 2022; 298(no issue):1-18

Centers for Disease Control-and Prevention. 12 COVID-19 Vaccination Strategies for Your Community [Internet]. 2022 [cited 2022 Apr 10]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccines/covid-19/vaccinate-with-confidence/community.html

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;3(1):47–57.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://spm.thaigov.go.th/web/kode/HTML/infoma2col-sub.asp?s=11&b=SUBORG-37&w=015&f=01500029

วิภา สุวรรณรัตน์, มาลี เกตแก้ว, กัณณวันฑ์ สกูลหรัง. การพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในชุมชนในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2021;8(1):1–14.

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก.; 2558. 26–44.

พงษ์เดช สารการ, ภัทรนันท์ หมั่นพลศรี. จุดตัดที่เหมาะสมสําหรับการวิเคราะห์เส้นโค้ง Receiver Operating Characteristic (ROC) ในการพัฒนาเครื่องมือนวัตกรรมทางสุขภาพ: กรณีตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม STATA. Thai Bull Pharm Sci. 2564;16(1):93–108.

Greiner M, Pfeiffer D SR. Principles and Practical Application of The Receiver-Operating Characteristic Analysis for Diagnostic Tests. Prev Vet Med. 2000; 45(1–2):23–41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12