การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จตามวิถีชีวิตใหม่ ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อำพรทิพย์ อุดทาโท
  • อนุกูล มะโนทน

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วมของชุมชน , การฆ่าตัวตายสำเร็จ , กระบวนการ Appreciation Influence Control

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตายสำเร็จ  2) เพื่อพัฒนารูปแบบ 3) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มผู้นำชุมชน คัดเลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหา ในแกนนำและตัวแทนตำบลแม่ตีบ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหา นำรูปแบบไปทดลองใช้ ในแกนนำและตัวแทนบ้านแม่ตีบ หมู่ 2 จำนวน 50 ราย จากการคำนวนขนาดตัวอย่าง ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน paired t-test จากผลการศึกษาพบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตายอยู่ระดับน้อย และรูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายเดิม ไม่สามารถทำให้อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลง เกิดการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ จากคัดกรอง 2Q ST5 กิจกรรมสุขศึกษา เป็น 3 รวม 3 ร่วม 1) ร่วมออกแรง มีการร่วมกันสอดส่องดูแลผู้มีปัญหาภาวะซึมเศร้า เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในทุกกลุ่มวัย จาก ญาติพี่น้องในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน 2) ร่วมสนับสนุนงบประมาณ จากองค์กรท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหา 3) ร่วมสนับสนุนข้อมูล แนวทาง และสร้างคู่มือการป้องกันและแก้ไขปัญหา และผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของบ้านแม่ตีบ หมู่ 2 แตกต่างกันจากก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และบ้านแม่ตีบ หมู่ 2 ไม่พบการฆ่าตัวตายสำเร็จ

References

World Health Organization. Suicide data. [Internet]. Geneva:World Health Organization; 2015. [cited 2015 Feb 20]. Available from: http://www.who.int/mental_health/prevention /suicide/suicideprevent/en/.

Bureau of Mental Health Management, Department of Mental Health. Strategic plan, department of mental health 2017-2021. Nonthaburi: Department of Mental Health, Ministry of Public Health;2017 (in Thai).

National Suicide Prevention Center. Report suicide rate per 100,000 populations. [Internet].[cited 2020 april 22].Available from; https://dmh.go.th/report/suicide/.

Lampamg Provincial Health Office. suicide data [Internet]. [cited 2020 april 22]. Available from: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

Best, John.Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc.1977.

Smith W William. The AIC Model Concept and Practice. Organization for Development International Institute. OD II. Leroy NW Washington DC. Dec. 1991.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. Journal of Advance Nursing 1991;16(2):354-61

Nongkran Kochragsa, Sriprapai Inchaithep. Development of Suicide Prevention through Community Engagement, Lampang. Royal Thai Navy Medical Journal;Volume 47 No.2 May-August 2020,447-463.

Yokfa Penglia, Sukserm Tippunya, Kannika Puksorn. Application of community participatory programs for suicide prevention: a case study at Jarim sub-district, Tha-Pla district, Uttaradit province. Journal of Mental Health of Thailand 2018;26(3):184-196.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10