ภาวะเหนื่อยล้าจากงานของบุคลากรด้านสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนนทบุรี ในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด

ผู้แต่ง

  • นิตยา เพ็ญศิรินภา

คำสำคัญ:

ภาวะเหนื่อยล้าจากงาน , ปัจจัยด้านงาน , บุคลากรด้านสุขภาพ , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะเหนื่อยล้าจากงาน  และอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านงาน ต่อภาวะเหนื่อยล้าจากงานของบุคลากรด้านสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดนนทบุรี ในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด  กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรด้านสุขภาพ 132 คน ทำงานใน รพ.สต. ในจังหวัดนนทบุรี ที่ได้จากการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน และภาวะเหนื่อยล้าจากงาน ที่มีค่าความเที่ยง 0.63 ถึง 0.93 ได้รับแบบสอบถามกลับ 118 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรด้านสุขภาพ รพ.สต. จังหวัดนนทบุรี มีภาวะเหนื่อยล้าจากงาน ด้านอาการอ่อนล้าทางอารมณ์ และด้านการลดความเป็นบุคคล ระดับต่ำ เท่ากัน ร้อยละ 44.1 ส่วนด้านความสำเร็จส่วนบุคคล อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 50.0 สำหรับภาวะเหนื่อยล้าจากงานในภาพรวมของแต่ละบุคคลตามเกณฑ์ พบภาวะเหนื่อยล้าจากงานระดับสูง ร้อยละ 17.0 ระดับปานกลาง ร้อยละ 8.5 และระดับต่ำ ร้อยละ 9.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคะแนนรวมภาวะเหนื่อยล้าจากงาน ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ ภาระงานที่มากขึ้น ส่งผลให้ภาวะเหนื่อยล้าจากงานเพิ่มขึ้น การได้รับการสนับสนุน และสัมพันธภาพที่ดี  ส่งผลให้ภาวะเหนื่อยล้าจากงานลดลง โดยสามารถอธิบายคะแนนภาวะเหนื่อยล้าจากงานโดยรวมได้ร้อยละ 33.7 ดังนั้นในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดและมีภาระงานมาก ผู้บริหารองค์กรควรกระจายภาระงานอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี  รวมทั้งมีการสนับสนุนและให้กำลังใจแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม 

References

Maslach CP, Leiter M. Understanding the burnout experience: recent research and its implications for psychiatry. World Psy-chiatry. 2016; 15(2): 103-11,2016.

นฤมล สุธีรวุฒิ. ภาวะหมดไฟ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการป้องกัน. วารสารการวัดผลการศึกษา; 32(91):16-25,2558.

Thatrimontrichai A, Weber DJ, Apisarnthanarak A. (2021) A. Mental health among healthcare personnel during COVID-19 in Asia: A systematic review. J Formos Med Assoc. 2021; 120(6): 1296-1304.

Apisarnthanarak A, Apisarnthanarak P, Siripraparat C, Saengaram P, Leeprechanon N, Weber DJ. Impact of anxiety and fear for COVID-19 toward infection control practices among Thai healthcare workers. Infect Control Hosp Epidemiol. 2020; June 8: 1–2.

แอนนิชา สิงห์คะนัน. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเครียดในการทำงานในช่วงวิกฤตโรคโควิด-19 ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.

นิตยา เพ็ญศิรินภา. ภาวะเหนื่อยล้าจากงานของบุคลากรด้านสุขภาพในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน; 3(3): 1-16,2564.

ไทยโพสต์. สรุปจุดเริ่มต้นโควิดระบาดรอบ 3. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2564 จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/99304

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf.

สำนักข่าว Hfocus. ทำความเข้าใจ ‘โอมิครอน’ ติดง่าย ไม่รุนแรง เชื้อไม่ลงปอด จริงหรือเท็จ?. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565 จาก https://www.hfocus.org/content/2022/01/24214.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเชิงวิเคราะห์รายจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=analysis-province.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนนทบุรี. รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 จากhttps://www.facebook.com/COVID19Nonthaburi/photos/pcb.602416004729977/602415941396650.

ทีมบรรณาธิการ Bangkok Insight. หมอยงชี้ยอดโควิดสูงกว่าที่รายงาน 10 เท่า. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/politics/894129/.

Hu D, Kong Y, Li W, Hand Q, Zhang X, Zhuf LZ, et al. Frontline nurses’ burnout, anxiety, depression, and fear statuses and their associated factors during the COVID-19 outbreak in Wuhan, China: A large-scale cross-sectional study. EClinicalMedicine, 24(2020).100424.

Lai J, et al. Factors Associated with Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Network Open. 2020; 3(3): e203976. doi:10.1001/jamanetworkopen.2020.3976.

Prasad K, et al. Prevalence and correlates of stress and burnout among U.S. healthcare workers during the COVID-19 pandemic: A national cross-sectional survey study. EClinicalMedicine, 35(2021).100879 https://doi.org/10.1016/j.eclinm.2021.100879 online 16 May 2021.

Maunder RG, et al. Psychological impact of the COVID-19 pandemic on hospital workers over time: Relationship to occupational role, living with children and elders, and modifiable factors. Gen Hosp Psychiatry. Available online 5 May2021https://doi.org/10.1016/ j.genhosppsych.2021.04.012.

ศิวัช ธำรงวิศว, จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์, วิศรุต ศรีสินทร. ความเหนื่อยล้าจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. เวชสารแพทย์ทหารบก; 72(3): 77-85,2562.

จามรี ณ บางช้าง. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย; 64(1): 61-76,2562.

Green SB. How many subjects does it take to do a regression analysis?. Multivariate Behav Res.1991; 26(3), 499-510. doi: 10.1207/s15327906mbr2603_7.

โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจ ป้องกันภาวะหมดไฟ ดูแลใจคนทำงาน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7. แบบประเมินภาวะหมดไฟ-ฉบับเผยแพร่. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565 จาก https://mhc7.go.th/wp-content/uploads/2017/09/แบบประเมินภาวะหมดไฟ-ฉบับเผยแพร่.pdf.

Xiao Y, Dong D, Zhang H, Chen P, Li X, Tian Z, Jing Z, Zhang S. Burnout and well-being among medical professionals in China: A national cross-sectional study. Front Public Health. 9:761706.doi: 10.3389/fpubh.2021.761706.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10