ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในเขตอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19, ความรู้, ทัศนคติ, การป้องกันตนเองบทคัดย่อ
ผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงติดเชื้อโควิด-19 หากมีความรู้ ทัศนคติที่ถูกต้องจะทำให้ป้องกันตนเองจากการกระจายโรคได้ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรควิด-19 ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เก็บข้อมูลเดือนเมษายน พ.ศ.2565 จำนวน 687 คน ในอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ Multiple logistic regression เสนอค่า ORadj และ 95%CI
ผลการศึกษา ความชุกด้านความรู้ระดับดี (95%CI = 51.0 – 59.0) และทัศนคติระดับปานกลาง (95%CI = 39.0–46.0) การป้องกันตนเองในการเว้นระยะห่างมีความสัมพันธ์กับความรู้ เป็น 0.76 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่ต่ำกว่า (95% CI 0.62 – 0.95; p-value=0.013) และทัศนคติ เป็น 0.70 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่ต่ำกว่า (95%CI 0.54 – 0.91; p-value=0.008) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 มีความสัมพันธ์ด้านความรู้ เป็น 1.26 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่ต่ำกว่า (95%CI 1.12 – 1.42; p-value<0.001) การสวมใส่หน้ากากอนามัย เป็น 0.87 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่ต่ำกว่า (95%CI 0.78 – 0.98 ; p-value=0.018) การล้างมือ เป็น 0.85 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่ต่ำกว่า (95%CI 0.73 – 1.00 ; p-value=0.001) การติดตั้งแอปพลิเคชั่นเป็น 0.89 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่ต่ำกว่า (95%CI 0.80 – 0.99; p-value=0.032) ส่วนความสัมพันธ์ด้านทัศนคติ และการวัดอุณหภูมิมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้งด้านความรู้ และทัศนคติ การมีความรู้และทัศนคติส่งผลต่อการป้องกันตนเองต้องให้ความรู้ สร้างความตะหนักในโรคโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการติดและแพร่กระจายเชื้อ
References
World Health Organization. Weekly epidemiological update on COVID-19.[Online].2021 [cited 2021 November 2]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological-update-on-covid-19---2-november-2021
กรมอนามัย. คู่มือการกักตัว สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ฉบับประชาชน.[ออนไลน์].2564 [อ้างอิง 1 มิถุนายน 2564].สืบค้นจาก: https://drive.google.com/file/d/1iAcoUFyjZLQuCkq_ny0PJAbErWt0XtVm/view
กระทรวงสาธารณสุข.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019(COVID-19) [ออนไลน์].2563 [อ้างอิง 23 กุมภาพันธ์ 2563].สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/guidelines/G39.pdf
กรมควบคุมโรค. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ [ออนไลน์].2564 [อ้างอิง 3 พฤษภาคม 2564].สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18373&deptcode=brc
ณัฏฐวรรณ แสนคำ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People Living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1, 33-48.
ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร. ขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID-19). (หน้า 7). มุกดาหาร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร.
Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A SIMPLE METHOD OF SAMPLE SIZE CALCULATION. [Online].1998 . Available from: https://core.ac.uk/download/pdf/205199338.pdf
Youkun Hu, Gaoqiang Zhang, Zhihao Li, Jiani Yang, Lijun Mo, Xiru Zhang, et al.Knowledge, attitudes, and practices related to COVID-19 pandemic among residents in Hubei and Henan Provinces. Retrieved from J South Med Univ[Online].2020 [cited 2020 May 30]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7277320/pdf/nfykdxxb-40-202005733.pdf
Bloom, B. (1975). Taxonomy of Education Objective. Handbook 1: Cognitive Domain.New York: David Mckay
จิตรา มูลที. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. สคร.9, 5-12.
Rios Gonzalez, Carlos Miguel. Knowledge, attitudes and practices towards COVID-19 in Paraguayans during outbreaks: a quick online survey. Retrieved from SciELO - Scientific Electronic Library. [Online].2020 [cited 2020 April 23]. Available from: https://preprints.scielo.org/index.php/scielo/preprint/view/149
Yonas Akalu, Ayelign B, Molla MD. Knowledge, Attitude and Practice Towards COVID-19. [Online].2020 [cited 2020 April 22]. Available from: https://www.dovepress.com/knowledge-attitude-and-practice-towards-covid-19-among-chronic-disease-peer-reviewed-fulltext-article-IDR
Zannatul Ferdous, Md. Saiful Islam, Md. Tajuddin Sikder, Abu Syed, Md. Mosaddek, J. A. Zegarra-Valdivia, et al. Knowledge, attitude, and practice regarding COVID-19 outbreak in Bangladesh: An online-based cross-sectional study. [Online].2020 [cited 2020 October 9]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7546509/pdf/pone.0239254.pdf
Golam Rabbani, O. A. Knowledge, Attitude and Practice towards COVID-19 among people in Bangladesh during the pandemic: a cross-sectional study. [Online].2020 [cited 2020 September 23]. Available from: https://doi.org/10.1101/2020.09.22.20198275