ปัญหาและสภาพการนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ธเนศ โชคพระสมบัติ Paknamchumphon Hospital

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: สภาพปัญหา, การนิเทศงาน, การนิเทศงานสาธารณสุข

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัดตามแนวคิดการบริหารประสิทธิภาพองค์กร 7S ของแมคคินซี่ย์ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร จำนวน 145 คน ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึง ธันวาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตามแนวคิด 7’S สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-Square Test และเปรียบเทียบผลงานตามตัวชี้วัดการประเมินผลงาน ระหว่างปีงบประมาณ 2563-2564 โดยใช้ paired T test

            ผลการศึกษา ด้านสถานการณ์ การนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัดตามกรอบ 7’S ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกลยุทธ์ (Strategy) ด้านกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาในการนิเทศ 2 ครั้ง/ปี และรับทราบแผนนิเทศงานล่วงหน้า 2 สัปดาห์ ด้านกระบวนการ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาผู้นิเทศในระดับสูง ( ± SD: 4.60±0.41) มากที่สุดด้านแบบการบริหาร (Style) (4.19±0.87) ทักษะความชำนาญ (Skills) (4.01±0.20) และค่านิยมร่วม (Shared Values) (3.90±0.36) ตามลำดับ ด้านผลผลิตพบความพึงพอใจโดยรวมต่อความเหมาะสมของการนิเทศงานในระดับสูง (3.81±0.51) มากที่สุดคือด้านแบบการบริหาร ภาพรวมการนิเทศ และด้านค่านิยมร่วม ปัญหาและสภาพการนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัดที่แตกต่างกันที่ทำให้มีความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของการนิเทศงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลงานตามตัวชี้วัดโดยรวมปีงบประมาณ 2564 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70.0 ซึ่งมากกว่า ปี 2563 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.028) สรุป การนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัดตามกรอบ 7’S ครั้งนี้บุคลากรมีความพึงพอใจโดยรวมระดับสูง ส่งผลให้ผลงานตามตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์มากกว่าปีที่ผ่านมา

References

เอกสารอ้างอิง

รัตนจันทร นาดี. การประเมินผลโครงการ นิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับงานสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสงเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดลอมล้านนา 2563; 10(2): 25-38.

ทวีศักดิ์ สายอ๋อง, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, วิยดา กวานเหียน. การบริหารจัดการองค์กรตามกรอบแนวคิด McKinsey’s 7S ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2563; 48(1): 7297-7313.

บุญชัย ธีระกาญจน์. แนวทางการนิเทศอย่างมีประสิทธิภาพ. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://new.research. doae.go.th

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2557.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ; 2564.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

ธานินทร์ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นท์; 2550.

กฤษติญา มูลศรี. กรอบแนวคิดแมคคินซีย์ 7s และการจัดการคุณภาพโดยรวม ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ธุรกิจ. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา 2562; 8(1): 40-53.

อติญาณ์ศรเกษตริน, อัจฉราวดี ศรียศักดิ์, รุ่งนภา จันทรา, สุทธานันท์กัลป์กะ, ปริญญา จิตอร่าม, สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนกับทัศนคติการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(3): 37-48.

อัมพาพรรณ นวาวัตน์, อุษารัตน์ ติดเทียน, มนัสภรณ์ ชูวงษ์. การพัฒนาสมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขตด้านการป้องกันควบคุมโรค เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2561; 5(2): 94-107.

พิมพาพร เชื้อบางแก้ว. การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2565; 12(1): 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07