การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • บรรจบ แสนสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • แมน แสงภักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • ถนอม นามวงศ์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, กลุ่ม 608, โควิด-19, วัคซีน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลกลยุทธ์การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19  โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล ดำเนินการ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2565 ตัวอย่างเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ (กลุ่ม 608) ทุกคนในจังหวัดยโสธร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบสอบถามการดำเนินงานตามกลยุทธ์และแบบประเมินความพึงพอใจ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา Multiple Logistic Regression และ Z-test ผลการศึกษาจากการสำรวจตัวอย่าง 2,307 ราย พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.8 อายุ 70 ปีขึ้นไป ร้อยละ 38.9 อัตราการฉีดวัคซีนกระตุ้น    เข็มที่ 3 ร้อยละ 65.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ 1)รายได้ 2)การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง และ 3)การรับรู้ประโยชน์ในการลดความรุนแรงหรือการเสียชีวิต ด้านบริบทการดำเนินงานพบว่า ขาดการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานขาดการบูรณาการร่วมกันอย่างจริงจัง จากข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ได้แก่ 1)กลยุทธ์ระดับจังหวัด และ 2)กลยุทธ์ระดับพื้นที่  จากการนำกลยุทธ์ไปทดลองใช้ส่งผลให้ความครอบคลุมการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ในกลุ่ม 608 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากร้อยละ 54.2 เป็น 73.4 ความครอบคลุมการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ดังกล่าวในระดับปานกลางและระดับสูง

References

WHO. Coronavirus (COVID-19) [Internet]. 2022 [cited 2022 Mar 28]. Available from: https://covid19.who.int/

ศูนย์สื่อสารโควิด-19 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดยโสธร [Internet]. 2565 [cited 2021 Jan 2]. Available from: https://www.facebook.com/SATYASOTHON/posts/2843696995910331

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Internet]. 2564 [cited 2021 Jan 10]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ(องค์กรมหาชน). ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ [Internet]. 2565 [cited 2022 Apr 11]. Available from: http://nvi.go.th/index.php/blog/2021/01/pr_2564_01_draft_policy_strategic_plan_of_vaccine_security_66-70

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) [Internet]. 2565 [cited 2022 Apr 10]. Available from: https://spm.thaigov.go.th/web/kode/HTML/infoma2col-sub.asp?s=11&b=SUBORG-37&w=015&f=01500029

ชำนาญ มาลัย, ถนอม นามวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(4):205–15.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;3(1):47–57.

ไพรัชฌ์ สงคราม, จักรสันต์ เลยหยุด, พรรณิภา ไชยรัตน์, มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง, ชัญญรัชต์ นกศักดา, วิราสินี สีสงคราม. ความต้องการวัคซีนโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุข ในการบริการวัคซีนโควิด-19 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(sup 2):199–207.

ไมลา อิสสระสงคราม. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2564;19(2):56–67.

นภชา สิงห์วีรธรรม, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, อรนุช ทองจันดี, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, อัจฉรา คำมะทิตย์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. ความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [Internet]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2565 Feb [cited 2022 Sep 20]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5547

พัชรภร คอนจำนงค์, ดวงจันทร์ จันทร์เมือง, มานะชัย สุเรรัมย์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหัดในกลุ่มเสี่ยง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(1):75–85.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. Victoria: Deakin University press; 1990.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Son; 1977.

Streiner DL, Norman GR. Health Measurement Scales: A Practical Guide to Their Development and Use. Oxford University; 2008.

Best JW. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood Cliffs; 1977.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. ศูนย์สื่อสารโควิด จังหวัดยโสธร [Internet]. 2565 [cited 2022 Mar 28]. Available from: https://www.facebook.com/SATYASOTHON

Hess S, Lancsar E, Mariel P, Meyerhoff J, Song F, van den Broek-Altenburg E, et al. The path towards herd immunity: Predicting COVID-19 vaccination uptake through results from a stated choice study across six continents. Soc Sci Med. 2022 Apr 1;298(114800):1–18.

จิราพร บุญโท. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารควบคุมโรค. 2565;48(1):22–32.

ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ, ปณิธี ธัมมวิจยะ, เยาวลักษณ์ จริยพงศ์ไพบูลย์, อมรรัตน์ วิริยะประสพโชค, ไชยเวช ธนไพศาล. ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตาย CoronaVac ในสถานการณ์การระบาดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค. 2564;47(Suppl 2):1151–62.

Centers for Disease Control-and Prevention. 12 COVID-19 Vaccination Strategies for Your Community [Internet]. 2022 [cited 2022 Apr 10]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccines/covid-19/vaccinate-with-confidence/community.html

กมลา วัฒนายิ่งเจริญชัย. รูปแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;26(1):170–81.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร, โชติกา แก่นธิยา. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจัยวิชาการ. 2562;2(1):101–15.

สงครามชัย ลีทองดี. การจัดการระบบสุขภาพ. 2nd ed. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2558.

World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies [Internet]. Geneva, Switzerland: WHO Document Production Services; 2010. Available from: http://www.who.int/healthinfo/systems/WHO_MBHSS_2010_full_web.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10