การพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตพื้นที่เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชนม์ชนกต์ ยงกุลวณิชนันท์ -
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต

คำสำคัญ:

ระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, MUANGMAI Model

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารเวชภัณฑ์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในรพ.สต.เขตพื้นที่เครือข่าย หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกต 4) การสะท้อนผล ดำเนินการระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการประเมินระบบบริหารเวชภัณฑ์ จำนวน 17 คน และบุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานบริหารเวชภัณฑ์ใน รพ.สต. จำนวน 48 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินตัวชี้วัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง พรรณนา การทดสอบ Chi-Square และ Wilcoxon’s Sign Rank Test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.4 ส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ย 41.78 ± 10.29 ปี ความพึงพอใจในการพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์อยู่ในระดับมาก ร้อยละ72.3 มีการพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ด้วยกระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยต้นแบบ MUANGMAI Model ส่งผลให้อัตราคงคลังไม่เกินเป้าหมายจำนวนรายการยาขาดลดลง มูลค่ายาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพลดลง ความคลาดเคลื่อนจำนวนยาคงคลังเทียบกับบัญชีคุมลดลง และการประเมินการบริหารเวชภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (UBON) คือ 1) ความร่วมมือ (Unity) 2) งบประมาณ (Budget) 3) บุคลากรทางด้านสาธารณสุข (Oner)  4) การสร้างเครือข่าย (Network) สรุป ต้นแบบ MUANGMAI model สามารถพัฒนาระบบการบริหารเวชภัณฑ์                ในรพ.สต.ได้

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปี 2563. กรุงเทพ: กระทรวสาธารณสุข;2563.

คณะทำงานจัดทำคู่มือเภสัชกรรมปฐมภูมิ. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ; 2560.

จิรภฎา เข็มสวัสดิ์. การประเมินคุณภาพระบบบริหารจัดการในหน่ายปฐมภูมิอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท[วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ ; 2546.

วรรณพร อุดรพงศ์. ระบบงานบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตอำเภอเมืองลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2551.

วนิดา ประเสริฐ, และ ฟ้าใส จันท์จารุภรณ. การบริหารจัดการด้านยาใน รพ.สต. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา ; 2558, 13 (1), 55-6

ยอดหทัย หิรัญสาย, รุ่งทิวา หมื่นปา, และ ธนศักดิ์ เทียกทอง. การสำรวจหน้าที่ของเภสัชกรใน หน่วยบริการปฐมภูมิ. เวชสารแพทย์ทหารบก ; 2560, 70(3), 149-159.

Kemmis S , & McTaggart R. The Action Research Planer (3 ed.). Victoria: Deakin University ; 1988.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต.หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่6. มหาสารคาม : สารคามการพิมพ์ – สารคามเปเปอร์ ; 2553

นุชนาถ เคียงวงค์. การพัฒนาคุณภาพการบริหารเวชภัณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ; 2557, 7(2), 302-309.

นันท์นภัส ฟุ้งสุข, และ อัษฎางค์ พลนอก. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารคลัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอ อุทัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มฉก. วิชาการ ; 2560, 21(41),109-122.

ชรัณ ประยูรเสถียร, ภิญญดา นฤบุญญฤทธิ์, กิตติภัค เจ็งฮั้ว. การพัฒนาคุณภาพระบบเติมยาโดยใช้แนวคิดลีนในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชัยนาท. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน2564.17(4)7587.

มัตติกา ประพฤติดี. การพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. ; 2563, 1(2), 16-29.

กษมา แก้วบำรุง, วรินท์มาศ เกษทองมา, วุธิพงศ์ภักดีกุล. วิเคราะห์การบริหารคลังเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ; 2564,14(2), 95-102.

วรวุฒิ สีหา. การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจากโรงพยาบาลกมลาไสยโดยประยุกต์ใช้การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคามหาสารคาม ; 2562

ภาวิตา เพชรประยูร, รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์. ความท้าทายของเภสัชกร โรงพยาบาลในงานบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน

จังหวัดนครสวรรค์ ; 2563, 13(2), 331-344.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07