ความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบความผิดปกติทางการมองเห็น ภาระการดูแลของญาติ และระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คำสำคัญ:
ผลกระทบความผิดปกติทางการมองเห็น, ภาระการดูแลของญาติ, ระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานกิจกรรมบำบัดเป็นทีมฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น ฝึกทักษะกิจวัตรประจำวันสำหรับผู้ป่วยตาบอดและสายตาเลือนรางให้สามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบความผิดปกติทางการมองเห็น ภาระการดูแลของญาติ และระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาภาคตัดขวาง(Cross Sectional Study) รวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยสายตาเลือนรางที่เข้ามารักษาที่งานกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จำนวน 38 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามผลกระทบของความผิดปกติในการมองเห็น (The Impact of Vision Impairment, IVI) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาระการดูแล (Zarit Burden Interview Short Form) และแบบสอบถามกิจวัตรประจำวันสำหรับผู้ป่วยสายตาเลือนราง วิเคราะห์ด้วยสถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์โดยใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบของความผิดปกติในการมองเห็น ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสายตาเลือนราง (r = -.237; p=0.17) ในขณะที่ผลกระทบของความผิดปกติในการมองเห็น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาระการดูแลของญาติ (r = .177; p=0.08) และภาระการดูแลของญาติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสายตาเลือนราง (r = .050; p=0.10) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำไปสู่การปรับระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็นของผู้ป่วยสายตาเลือนราง เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสายตาเลือนรางที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ อาทิเช่น 1) อ่านหนังสือ 2) การล้างผลไม้ หั่นผลไม้ และ 3) การปรุงอาหาร
References
เอกสารอ้างอิง
National Statistical Office. The Disabled Statistics 2017 [Internet]. 2017; [cited 20 September 2022]. Available from: http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/search_23project-th.htm2560
Nitiruangjarus K, Thanasombatskul N. Visual Rehabilitation in Patients with Visual Impairment Visiting a Low Vision Clinic. J Nurs Sci 2009;27(3):13-22.
Sutjaritban P, Kapol N. Health Utility of Neovascular Age-Related Macular Degenerationat Mettapracharak (Wat Raikhing) Hospital. [Internet]. 2017; [cited 20 September 2022]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1182/1/58352312.pdf
Ratanasukon M, Tongsomboon J, Bhurayanontachai P, Jirarattanasopa P. The Impact of Vision Impairment (IVI) Questionnaire; Validation of the Thai-Version and the Implementation on Vision-Related Quality of Life in Thai Rural Community. PLoS One 2016;11(5):e0155509.
Layothee P, Nualnetr N. Caregiver Burden and Depression among Caregivers of Individuals with Visual Impairment. Srinagarind Med J 2019;34(4):354-60.
Khare S, Rohatgi J, Bhatia MS, Dhaliwal U. Burden and depression in primary caregivers of persons with visual impairment. Indian J Ophthalmol 2016;64(8):572-7.
Jaijumnong S, Nadee T, Kongkerd P. Outcomes on Functional Vision Performance Following ICF Corset and Users’ Satisfaction Level on Low Vision Aids. JHS 2019;28(S2), S113-S121.
Amini R, Haghani H, Masoomi M, Assari S. Activity of daily living and its associated factors in war survivors with no visual acuity. J Res Med Sci 2010;15(4):202-7.
Hisnanick JJ. Forecasting the demand for inpatient services for specific chronic conditions. J Med Syst. 1994;18(1):9-21.
Raul B, Bhattacharjee O, Ghosh A, Upadhyay P, Tembhare K, Singh A, Shaheen T. et al. Microscopic and Transcriptomic Analyses of Dalbergoid Legume Peanut Reveal a Divergent Evolution Leading to Nod-Factor-Dependent Epidermal Crack-Entry and Terminal Bacteroid Differentiation. Mol Plant Microbe Interact 2022;35(2):131-145.
Khanittanuphong P, Leelasamran W. Assessing Caregiver Burden and Relationship between Caregiver Burden and Basic Activities of Daily Living in Stroke Patients with Spasticity. J Med Assoc Thai 2016;99:926-32.