The การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ปิญชาน์ ปรัชญคุปต์
  • จตุพร เหลืองอุบล
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต

คำสำคัญ:

เอชไอวี, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ , วัยรุ่น, ยโสธร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ   

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (AIDS/STI) ในวัยรุ่นในสถานศึกษาจังหวัดยโสธร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การปฏิบัติ  3) การสังเกต และ 4) การสะท้อนผล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาประสบการณ์วิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษายโสธร 288 คน และกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 12 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพ     ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ t-test ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.3 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 16 ปี ร้อยละ 47.36  มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไม่สวมถุงยางอนามัย ร้อยละ 53.68 ช่องทางการเข้าถึงความรู้ คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 87.91 ความรอบรู้ด้าน AIDS/STI ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ ด้านบริบทการดำเนินงานปัจจุบันพบว่า การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นหนึ่งใน  แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเอดส์ แต่การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ    ยังไม่ชัดเจน ขาดการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย จากข้อมูลข้างต้นนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้าน AIDS/STI ขึ้น โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมมีอยู่ 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) การเข้าถึง (2) การเข้าใจ (3) การไต่ถาม (4) การตัดสินใจ และ (5) การนำไปใช้ หลังการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้และความตระหนักเกี่ยวกับ AIDS/STI เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) มีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูง ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้นักศึกษามีความรอบรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งนี้ ควรมีกิจกรรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้าน AIDS/STI ในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และควรมีการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ขยายผลไปยังสถานศึกษาอื่นต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง

Joint United Nations Programme on HIV/AIDS. Fact Sheet 2021 Global HIV Statistics. Ending the AIDS epidemic. 2021. p. 1–3.

กรมควบคุมโรค. ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม2564]. เข้าถึงจาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/aidsinfo.php

ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ 2560-2573. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด; 2560.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. นนทบุรี: 2563.

เพ็ญศรี สวัสดิ์เจริญยิ่ง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2553-2562 ของกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. วารสารโรคเอดส์. 2563;32(3):94–113.

ถนอม นามวงศ์, สุกัญญา คำพัฒน์, ปิญชาน์ ปรัชญคุป. อัตราความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มเยาวชน จังหวัดยโสธร. วารสารโรคเอดส์.2562;31(3):116–24.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. Victoria: Deakin University press; 1990.

Cochran WG. Sampling Techniqes. New york; 1977. 428 p.

Bloom B. S., Hastings J. T. & MG. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Best JW. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood Cliffs; 1977.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. การพัฒนาวิธีการสอนของครูโดยความร่วมมือกันจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรื่องเพศศึกษาและโรคเอดส์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัย และพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2557;11:89–99.

นิตยา เพ็ญศิรินภา. ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับหลักสูตรเพศศึกษารอบด้าน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(3):1–16.

ดวงกมล วัตราดุลย และคณะ. การพัฒนารูปแบบเครือข่ายแกนนำจิตอาสาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์สำหรับเยาวชนในสถานศึกษาเขตเมือง. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2563;12(2):368–79.

วิลัยวรรณ ปัดถา, ชนัญญา จิรพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของครูชั้นประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(3):37–47.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;67(12):2072–8.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมลตรี เพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2554.

ภรกต สูฝน. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอซไอวี เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันโดยไม่รังเกียจในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารโรคเอดส์. 2562;32(1):1–14.

ยุวดี งอมสงัด, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงวัยเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2562;14(2):37–51.

วิภา สุวรรณรัตน, มาล เกตแก้ว, กัณณวันฑ์ สกูลหรัง. การพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในชุมชนในสถานการณ์ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;8(1):1–14.

สุกฤตา สวนแก้ว, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราของวัยรุ่น ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2564;14(2):93–106.

สุกัญญา คณะวาปี, เกศินี สราญฤทธิชัย. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียน รอบรู้ด้านสุขภาพต่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(2):105–18.

สิริพร ภิยโยทัย, นุชนารถ แก้วดำเกิง, จุฑามาศ มากกุญชร, ศิริกูล ชัยเจริญ, เบญจมาศ ใจงาม, เกศินี เขียนวารี. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน. วารสารโรคเอดส์. 2564;33(3):111–22.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558;9(2):1–8.

นุชนารถ แก้วดำเกิง, สิริพร ภิยโยทัย, จุฑามาศ มากกุญชร, ศิริกูล ชัยเจริญ, เบญจมาศ ใจงาม, เกศินี เขียนวารี. การประเมินผลการเรียนรู้ตามกระบวนการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ตามโมเดล Kirkpatrick. วารสารโรคเอดส์. 2563;32(3):114–31.

ชินวัตร พลศักดิ์ขวา, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, นาถอนงค์ หวานแท้, สุกัญญา มารสินธุ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยง ในการติดเชื้อโรคซิฟิลิสของนักเรียนชายโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แห่งหนึ่ง ในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2564;28(1):77–89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07