การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • นครินทร์ อสิพงษ์ -
  • พรวรา เติบจันทึก งานสุขศึกษา โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน , โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        โรคเรื้อรังเป็นโรคพบมากและมีอัตราป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคเรื้อรังถึง 14 ล้านคน และในจำนวนนี้มีบุคลากรทางสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) รวมอยู่ด้วย โดยอำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษมี อสม.ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังถึงร้อยละ 77.48 การวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ ยังไม่มีการศึกษาการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่ม อสม.ที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ชัดเจน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ป่วยเป็นโรคไม่โดยรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research And Development) ดำเนินการศึกษาบริบทและพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาและทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความรู้และการปฏิบัติก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และกลุ่มทดลองมีความรู้และการปฏิบัติมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ คือ เนื่องจากระยะเวลาของการจัดกิจกรรมของโปรแกรมนั้นเป็นการจัดกิจกรรมระยะยาว และต้องมีการจัดกิจกรรมทุกสัปดาห์ จึงทำให้การติดตามกลุ่มตัวอย่างให้เข้าร่วมกิจกรรมให้ครบตามโปรแกรมมีข้อจำกัด ในการประยุกต์ใช้โปรแกรมในกลุ่มอื่นๆอาจจะต้องมีการปรับความถี่ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโปรแกรมสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบตามที่กำหนด

References

เอกสารอ้างอิง

ปิยรัตน์ ชูมี และจิราพร อุดมกิจพิพัฒน์. ความรู้ด้านโรคเรื้อรังและสมรรถนะในการให้บริการด้านโรคเรื้อรังในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564;4:277-293.

สำนักงานสาธษรณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. Health Data Center (HDC) [อินเตอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2566]. เข้าถึงจาก https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=6b9af46d0cc1830d3bd34589c1081c68

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานประจำปี 2562[อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2565]. เข้าถึงจาก http://www.ssko.moph.go.th

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ;2559.

อุษา ทัศนวิน, ธีรนุช ห้านิรัติศัย และ วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. ผลของการเข้าค่ายเบาหวานกลางวันต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล 2553;1:53-66.

ดวงสมร นิลตานนท์ และ จุฬาภรณ์ โสตะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนและกระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข. (บศ.) 2553; 3:51-60.

Bernard, R. Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery : Thomson Learning;2000.

ประหยัด ช่อไม้ และอารยา ปรานประวิตร. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ 2558;1:15-24.

Goldstein EB. Cognitive Psychology:Connecting Mind, Research, and Everyday Experience. 2nd ed. U.S.A.:Thomson Wadsworth; 2008.

พิสุทธา อารีราษฎร์. ผลการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์. มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม;2553.

พิกุลแก้ว ทองบุ, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข และสมศิริ นนทสวัสดิ์ศรี. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลเหล่าหลวง อำเภอเกษตร-วิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล 2562;4:1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07