การพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ สานุสันติ์ -
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ , การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, กระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุ ที่อาศัยในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ และเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน จำนวน 50 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมพัฒนากระบวนการในการขับเคลื่อนกิจกรรมและการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันดำเนินงานในทำกิจกรรมเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน  จำนวน 10 คน  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่และวิเคราะห์สภาพปัญหา 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การจัดทำแผนปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติตามแผนงานโครงการ 5) นิเทศ ติดตาม สนับสนุน และประเมินผลการดำเนินงาน 6) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนผลการพัฒนา ถอดบทเรียน สรุปปัญหา อุปสรรค ซึ่งจะประสบผลสำเร็จต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามบทบาทหน้าที่และการออกแบบกิจกรรมโครงการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา ส่งผลให้เกิดรูปแบบในการ 1) ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย 2) ศึกษาบริบทและเก็บข้อมูลทั่วไป เพื่อเตรียมความพร้อม 3) สร้างการมีส่วนของภาคีเครือข่าย 4) สร้างสุขภาพกายใจ ให้กับนักเรียนผู้สูงอายุ 5) สร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้กับนักเรียนผู้สูงอายุ 6) สร้างอาชีพ ให้กับนักเรียนผู้สูงอายุ 7) เยี่ยมเสริมพลัง สร้างความสามัคคี 8) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 9) สะท้อนผลการพัฒนา เพื่อารพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้การมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของภาคีเครือข่าย นอกจากนี้ยังพบว่าผลลัพธ์เชิงปริมาณในกระบวนการนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงในการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้น และความพึงพอใจกลุ่มผู้เข้าร่วมพัฒนากระบวนการในการขับเคลื่อนกิจกรรมและการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน มีความพึงพอใจในการพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น  ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ 1) แผนยุทธศาสตร์ (Strategy) 2) ความสัมพันธ์ (Relationship) 3) บุคคล (Person) ซึ่งกระบวนการที่กล่าวมาทั้ง 3 ข้อนั้น ส่งผลให้การพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลันมีรูปแบบที่ชัดเจน และส่งผลให้ภาพรวมระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดีขึ้น เกิด “คณะทำงาน” ซึ่งรูปแบบการพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน ที่ได้เรียกว่า SRP Model โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 1. มีนโยบายสนับสนุน 2. ภาคีเครือข่ายต่างมีบทบาทหน้าที่ที่ครอบคลุมในทุกด้านของการสร้างเวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3 .การมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง 4. การออกแบบกิจกรรมโครงการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกรมกิจการผู้สูงอายุ.

กรมสุขภาพจิต. (2545). แบบคัดกรองทางสุขภาพจิต: เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย. โปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ปี พ.ศ. 2545. เชียงใหม่.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจยัและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ยาวเรศ แตงจวง. (2558).แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร (Phetchabun Rajabhat Journal),16(2),85-93.

วิโชติ ผ้าผิวดี. (2556). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองเสือ ตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทศบาลตำบลสำโรงพลัน. (2562). แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ.2561-2565). ศรีสะเกษ: งานวิเคราะห์นโยบายและแผนสำนักปลัดเทศบาลเทศบาลบลตำบลสำโรงพลัน (เอกสารอัดสำเนา).

ณัฐวุฒิ ชูเชื้อ. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เทศบาลตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นีรสาห์ ลาสิทธ์. (2559) การจัดสวัดิการผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประเวศ วะสี. (2546). การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.

ฤทธิชัย แกมนาค และคณะ. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,11,47-62.

พัชราภรณ์ พัฒนะ. (2560). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสระบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชญามลชุ์ เดชศิริ. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนเป็นฐาน ตําบลวังแสง อำเภอแกดํา จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชิต ลายน้ำเงิน. (2552). การจัดการแบบมีส่วนร่วมสำหรับการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. [ออนไลน์]. ได้จาก:www.rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1123. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562].

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช.วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 9,25-39

ระเบียบ เทียมมณี, สุปาณี เสนาดิสัย และวันทนา มณีศรีวงศ์กูล. (2554). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการมารับการรักษาต่อเนื่องในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง : กรณีศึกษา. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศศิพฒัน์ ยอดเพชร, ภาวนา พฒันศรี และธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). การถอดบทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ศุภสวัสดิ์ รุจิรวรรธน. (2560). การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองใน

ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกะทุ่ม

ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรพล ชยภพ. (2552). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอนก ชิตเกสร และพรรณนุช ไชยปินชนะ. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. [ออนไลน์] ได้จาก: www.business.peyap.ac.th/ba-km%20 วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562]

อุบล นววงศ์เสถียร. (2550-2560). การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงการ. บทความการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ.

Johnson AP. (2008). A Short Guide to Action Research (3 ed.). Boston: Pearson Education. Netuveli, G., Wiggins, R. D., Hildon, Z., Montgomery, S. M., & Blane, D. (2006). Quality of lifeat older ages: evidence from the English longitudinal study of aging(wave1). Journal of Epidemiology and Community Health, 60(4), 357-363.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29