การศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีส่วนร่วมในชุมชนตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
วัณโรค , การมีส่วนร่วม , รูปแบบการดูแลบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อที่ต้องใช้เวลารักษายาวนาน และควรมีรูปแบบการดูแลที่เหมาะสม การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชนตำบลแม่ใจและศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชนตำบลแม่ใจ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 28 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยหรือผู้ที่เคยป่วยวัณโรค และญาติผู้ป่วย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าชุมชนตำบลแม่ใจเป็นพื้นที่ที่พบจำนวนผู้ป่วยวัณโรคและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดจากทุกตำบล แต่การเข้าถึงบทบาทของการดูแลผู้ป่วยจากครอบครัวและชุมชนยังไม่ชัดเจน ผลการศึกษารูปแบบพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนตำบลแม่ใจเกิดขึ้นด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1.คน ได้แก่ อสม. ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยหรือผู้ที่เคยป่วยวัณโรค และญาติผู้ป่วย 2. เงินที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาล และเทศบาล 3. วัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับสนับสนุนยาในการรักษาจากโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 4. การจัดการที่เกิดการประสานงานตามขั้นตอนตามหลักการ “กำลังใจ ใส่ใจ และร่วมใจ” ทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่งผลทำให้การรักษาเกิดผลสำเร็จโดยที่ผู้ป่วยไม่ขาดยา พบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่และพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้ต่อไป
References
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. (2020). Global tuberculosis report 2020 Retrieved July 8, 2022, from https://www.who.int/health-topics/tuberculosis#tab=tab_1
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค (2564) แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย ปี2564, ออนไลน์ สืบค้นจาก https://www.tbthailand.org/download , 2565.
กลุ่มงานวัณโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา, “รายงานสถานการณ์วัณโรค,” เอกสารรายงานสถานการณ์วัณโรค. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ใจ, “ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค,” เอกสารทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ใจ. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ใจ, “ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค,” เอกสารทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ใจ. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
จุฬาวรรณ จิตดอน, วนิดา ดุรงฤทธิชัย และกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม . “การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่รักษาด้วยระบบยาระยะสั้น อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ,” วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ 20(40) : 1-11 ; มกราคม - มิถุนายน, 2560.
อัญชลีมงกุฎทอง, เชิดพงษ์ทองสุข และแดนสรวง วรรณวงษ์สอน. “การพัฒนารปแบบการควบคุมโรควัณโรคปอดด้วยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน,” วารสารกองระบาดวิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 53(8) : 110-117 ; มีนาคม, 2565.
พรรณิภา อนุรักษากรกุล. “การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่รักษาด้วยระบบยาระยะสั้น อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ,” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 28(1) : 195-215 ; มกราคม - เมษายน, 2563.
โครงการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย, ออนไลน์ สืบค้นจาก https://www.hitap.net/research/170457, 2565.
สุพัตรา สิมมาทัน และชนะพล ศรีฤาชา. “การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7,” วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 24(3) : 88-99 ; กันยายน - ธันวาคม, 2560.
ภูษิต ขันกสิกรรม และจักรพันธ์ เพ็ชรภูม. “ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก.” วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2560.
ดาวประกาย หญ้างาม. “ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชนโดยเครือข่ายสุขภาพอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.” วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2565.
นิรันดร์ ถาละคร. “การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย.” วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2(2) : 38-49 ; กรกฏาคม - ธันวาคม, 2562.