ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมคำนวณปริมาณยาและจำนวนเม็ดยา ในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สุขุมาล กาฬเนตร Pharmacy

คำสำคัญ:

ยาวาร์ฟาริน, International Normalized Ratio (INR), Time in the Therapeutic Range (TTR), ความคลาดเคลื่อนทางยา, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ยาวาร์ฟารินต้องคำนวณขนาดยาให้สอดคล้องกับค่า INR (International Normalized Ratio) ของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาและความปลอดภัยจากการใช้ยา การพัฒนาโปรแกรมคำนวณปริมาณยาและจำนวนเม็ดยาในคลินิกวาร์ฟารินมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้ค่า INR ของผู้ป่วยอยู่ในช่วงระดับการรักษา (TTR) มากกว่าร้อยละ 60 (2) ลดอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (3) ป้องกันการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (4) ลดระยะเวลาในการคำนวณขนาดยาและจำนวนเม็ดยาให้ผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินจำนวน 180 คน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น  ผลการศึกษาพบว่า  (1) ค่าเฉลี่ย TTR หลังจากใช้โปรแกรมคำนวณขนาดยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 40.99 ± 21.78 เป็นร้อยละ 65.11 ± 27.5 (p-value<0.001) (2) ความคลาดเคลื่อนทางยาเกี่ยวกับจำนวนเม็ดยาไม่พอดีวันนัด สั่งยาเกินขนาด และการเลือกคำสั่งใช้ยาวาร์ฟารินผิดวิธีลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) (3) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการเกิดภาวะเลือดออกจากการใช้ยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) (4) ค่าเฉลี่ยเวลาในการคำนวณขนาดยาและจำนวนเม็ดยาวาร์ฟารินลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 5.37± 1.55 เหลือ 0.45 ± 0.75 นาที (p-value<0.001) งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการวางแผนการจัดการระบบยาและโปรแกรมช่วยคำนวณขนาดยา จำนวนเม็ดยาที่ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยา ลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา  และช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการผู้ป่วยลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

References

เอกสารอ้างอิง

ทรงขวัญ ศิลารักษ์ และคณะ. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน [อินเตอร์เนต]. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1292154183/warfarin_Guideline%281%29.pdf

ณัฏฐีนา รังสินธุ์ และคณะ. การขับเคลื่อนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ.2560-2564 [อินเตอร์เนต]. กรุงเทพฯ: กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://203.157.213.6/nitikarn/web/images/lawyerclub/pudtanaroobpaeab/Service%20Plan%2060-64.pdf

ธีรพร สถิรอังกูร, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ และพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2560.

จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล. ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบจัดการด้านยา [อินเตอร์เนต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=303%3B.

เจนจิรา ตันติวิชญวานิช. การบูรณาการคลินิกวาร์ฟารินและพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพด้วยการบริบาลทางเภสัชกรรม จังหวัดปัตตานี.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(1):129-36.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ยูแอนด์ไอ; 2553.

Pharmaceutical Care Network Europe Foundation. 2020. PCNE classification for drug related problems V 8.02 [Internet]. 2020 [cited 2022 May 30]. Available from: https://www.pcne.org/upload/files/230 .

ชื่นจิตร กองแกว. คําจํากัดความ: เรื่องที่มองข้ามในบทความวิชาการด้านปัญหาการใช้ยา. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2553;5(1):89-94.

กรรณิกา เหมือนจันทร์แจ่ม. ขนาดยาวาร์ฟารินที่เหมาะสมและปัจจัยทางคลินิกที่มีผลต่อขนาดยาวาร์ฟารินในขนาดคงที่ที่โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจ ไกลกังวล 2563;5(1):1-12.

สถาพร มณี และนุชกานดา มณี. ผลลัพธ์การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการคลินิกวาร์ฟาริน.พุทธชินราชเวชสาร 2560;34(3):371-80.

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การพัฒนาโปรแกรมเพื่อรายงานผลความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562;34(3):260-70.

วิทยา วิริยะมนต์ชัย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563;10(1):118-31.

สาวิตรี ทองอาภรณ์. ความชุกการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกจากการใช้ยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยภาคใต้ของไทย [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

อัญชนา เหมือนคิด. การพัฒนาโปรแกรมคำนวณขนาดยาเคมีบำบัดเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2555.

วันเพ็ญ มูลอินต๊ะ. การพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2562;11(2):1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07