ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการสุขภาพตามสิทธิ บัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ยลศิริวัฒน์

คำสำคัญ:

การเข้ารับบริการสุขภาพ, แรงงานต่างด้าว, บัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยปัจจัยภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการระบบสุขภาพตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวที่ไปลงทะเบียนใช้สิทธิ์ตามโรงพยาบาลในจังหวัดระยอง โดยอาสาสมัครจะถูกนำเข้าโครงการจากโรงพยาบาลระยอง แกลง และปลวกแดงจำนวน 392 ราย โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลระหว่าง 1 พฤศจิกายน-31 ธันวาคม 2565 กับแรงานต่างด้าวที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง จำนวน 392 ราย ที่ไปรับบริการสุขภาพในโรงพยาบาลแกลง ระยองและปลวกแดง จังหวัดระยองมีการจำหน่ายบัตรประกันสุขภาพให้แรงงานต่างด้าวแต่ยังไม่มีการประเมินการใช้บริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวที่นำบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวไปใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานข้อมูลด้วย t-Test, One-Way ANOVA และ Correlation

กลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 ราย ส่วนใหญ่สัญชาติกัมพูชา (49.5%) อายุระหว่าง 26-35 ปี (เฉลี่ย 26.7 ปี) ระยะเวลาที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง 5-6 ปี (เฉลี่ย 5.6 ปี) รายได้ 10,001-15,000 บาท (เฉลี่ย 12,500 บาท) และจำนวครั้งที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพ 3-4 ครั้ง (เฉลี่ย 3 ครั้ง) ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 23.62, SD = 2.61) แรงจูงใจในการซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวภาพรวมอยู่ในระดับดี (  = 11.36, SD = 1.36) และการยอมรับบริการเมื่อใช้บัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวภาพรวมอยู่ในระดับดี (  = 9.19, SD = 1.29) การได้รับข่าวสารบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 6.95, SD = 1.41) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัย เพศ (p = 0.037) อายุ (p < 0.001) สัญชาติ (p < 0.001) ระยะเวลาที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง (p < 0.001) อาชีพ (p < 0.001) รายได้ (p < 0.001) และจำนวนครั้งที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพ (p < 0.001) ภาพรวมความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตรประกันสุขภาพ (p < 0.001) และการตัดสินใจซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว (p < 0.001) มีความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการสุขภาพตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระยอง ผลการศึกษานี้จะใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงบริการสุขภาพและประชาสัมพันธ์เพื่อให้แรงงานต่างด้าวซื้อบัตรประกันสุขภาพมากขึ้นเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายกรณีหนี้เสียของโรงพยาบาลจากการให้บริการสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีบัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว

Author Biography

จุฑามาศ ยลศิริวัฒน์

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการสุขภาพตามสิทธิ

บัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระยอง

นางจุฑามาศ ยลศิริวัฒน์*

 

 

บทคัดย่อ

การวิจัยปัจจัยภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการระบบสุขภาพตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวที่ไปลงทะเบียนใช้สิทธิ์ตามโรงพยาบาลในจังหวัดระยอง โดยอาสาสมัครจะถูกนำเข้าโครงการจากโรงพยาบาลระยอง แกลง และปลวกแดงจำนวน 392 ราย โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลระหว่าง 1 พฤศจิกายน-31 ธันวาคม 2565 กับแรงานต่างด้าวที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง จำนวน 392 ราย ที่ไปรับบริการสุขภาพในโรงพยาบาลแกลง ระยองและปลวกแดง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานข้อมูลด้วย t-Test, One-Way ANOVA และ Pearson Correlation

กลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 ราย ส่วนใหญ่สัญชาติกัมพูชา (49.5%) อายุระหว่าง 26-35 ปี (เฉลี่ย 26.7 ปี) ระยะเวลาที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง 5-6 ปี (เฉลี่ย 5.6 ปี) รายได้ 10,001-15,000 บาท (เฉลี่ย 12,500 บาท) และจำนวครั้งที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพ 3-4 ครั้ง (เฉลี่ย 3 ครั้ง) ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 23.62, SD = 2.61) แรงจูงใจในการซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวภาพรวมอยู่ในระดับดี (X = 11.36, SD = 1.36) และการยอมรับบริการเมื่อใช้บัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวภาพรวมอยู่ในระดับดี (X = 9.19, SD = 1.29) การได้รับข่าวสารบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 6.95, SD = 1.41) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัย เพศ (p = 0.037) อายุ (p < 0.0001) สัญชาติ (p < 0.0001) ระยะเวลาที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง (p < 0.0001) อาชีพ (p < 0.0001) รายได้ (p < 0.001) และจำนวนครั้งที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพ (p < 0.0001) ภาพรวมความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตรประกันสุขภาพ (p < 0.0001) และการตัดสินใจซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว (p < 0.0001) มีความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการสุขภาพตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระยอง การศึกษานี้จะใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงบริการสุขภาพและประชาสัมพันธ์เพื่อให้แรงงานต่างด้าวซื้อบัตรประกันสุขภาพมากขึ้น

คำสำคัญ : การเข้ารับบริการสุขภาพ/แรงงานต่างด้าว/บัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว

 

 

*กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง

Corresponding author: jaju7339@gmail.com. puedrayong28102515@gmail.com

 

References

เอกสารอ้างอิง

อัชวัฒน์ คำหวาน. 2559. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2559

เบญจพร ทองมาก และ วรวิทย์ มิตรทอง. 2564. การรับรู้สิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพและบัตรประกันสังคมในกลุ่มแรงงานต่างด้าวและบุคลากร ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2564

วิชุดา สาธิตพร. 2558. นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : พัฒนาการ แนวโน้ม และการสำรวจมาตรฐานด้านสุขภาพของไทย. สาขา การเมืองการปกครองและนานาชาติศึกษา, New England, Australia

ชนิดา เล็บครุฑ. 2554. ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน. รายงานการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล และ วสันต์ ศิลปะสุวรรณ. 2559. ตัวแบบการบริหารจัดการการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเมียนมาในประเทศไทย. สาขาการจัดการ วิทยาลัยด้านการจัดการและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

กลุ่มงานประกันสุขภาพ. 2565. สถานการณ์การซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระยอง ปี 2561-2565. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง

เวสารัช วรุตมะพงศ์พันธุ์. 2563. ประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงผลคุณภาพอากาศบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแวดล้อม สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บันลือ เกิดไกล, จิติมา กตัญญู, วันทนีย์ ชวพงษ์.2557. ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการต่อการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (นโยบายร่วมจ่าย 30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลดอยเต่าจังหวัดเชียงใหม่. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ขวัญมนัส พรรณสุผล, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. 2559. ปัจจัยทำนายการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาในสถานประกอบการ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

จรินทร์ ย่นพันธ์. 2562. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าวในเขตสุขภาพที่ 8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาสารคาม

กิตติชัย แซ่ลิ้ม, วรลักษณ์ หิมะกลัส. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ญาดา เรียมริมมะดัน, ศิรินันท์ คำสี. 2561. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก. วิชาการ ปีที่ 21 ฉบับที่ 42 มกราคม-มิถุนายน 2561

พราวพิชชา เถลิงพล. 2563. ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2563) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

จรินทร์ ย่นพันธ์. 2562. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าวในเขตสุขภาพที่ 8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาสารคาม

กิตติชัย แซ่ลิ้ม, วรลักษณ์ หิมะกลัส. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ญาดา เรียมริมมะดัน, ศิรินันท์ คำสี. 2561. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก. วิชาการ ปีที่ 21 ฉบับที่ 42 มกราคม-มิถุนายน 256

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29