บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพ ผู้พิการในชุมชน ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน , การส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการในชุมชน ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 235 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีความเชื่อมั่นด้านบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.935 ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.827 และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น 0.814 ระหว่างเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการในชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73.6 และอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 26.4 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านเป็นแกนนำในประสานการดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชน และปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงองค์กรพัฒนาชุมชน อื่นๆ ในท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73.2 ด้านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือจัดการรณรงค์ และให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73.6 และด้านจัดกิจกรรมส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของผู้พิการสอดคล้องกับสภาวะสุขภาพของท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.7 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพของผู้พิการในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และแรงสนับสนุนทางสังคม ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการในชุมชน และส่งเสริมการยกย่องการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพของผู้พิการในชุมชน
References
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2565). การสาธารณสุขมูลฐาน. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565 จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/
frontend/theme/index.php
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). คู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อยกระดับเป็นหมออนามัยประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2564). จำนวนคนพิการ. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564 จาก http://web2.dep.go.th
แจ่มนภา ใขคํา และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปี ที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561)
พรพรรณ พิมพ์วาปี. (2560). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
ยุทธนา แยบคาย และวัลยา ตูพานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครประจำครอบครัว จังหวัดสุโขทัย. วารสารพยาบาลตำรวจ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. (2554).
วิเชียร มูลจิตร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุข และนวัตกรรม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2564)
สิรินธารณ์ วระไวย์. (2562). ศึกษาเรื่องบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนตำบลพ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
สุดปรีชา เตียติวิริยะกุล. (2560). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารงานสาธารณสุขมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2564). กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2565. จาก: https://skko.moph.go.th
สำนักงานเทศบาลตำบลนาหัวบ่อ. กองสวัสดิการสังคม. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565. จาก http://nahuabo.go.th.