ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาส้นเท้าแตก กรณีศึกษาเพศหญิง อายุ 40-50 ปี หมู่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • นูรรีย๊ะ ล่าเตะเกะ -
  • ฮูดา เจ๊ะแวมาแจ
  • นูฮารีฟา กอเด
  • นูรีตา สาและ
  • นุรลิสา หะยีมามุ

คำสำคัญ:

ส้นเท้าแตก , สครับสมุนไพร

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Analytical Cross Sectional Studies) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาส้นเท้าแตก กรณีศึกษาเพศหญิง อายุ 40-50 ปี หมู่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยศึกษาในกลุ่มเพศหญิง อายุ 40-50 ปี หมู่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 98 คน  คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครซซี่และมอแกน (Krejcie and Morgan )

  ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 40-50 ปี (ร้อยละ 100) และส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นแม่บ้าน (ร้อยละ 33.67) โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรถแล้ว (ร้อยละ 80.61) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 51.02) และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับส้นเท้าแตกเป็นอันดับ 2 คือมีรอยแตกชัดเจนแต่ไม่ถี่ (ร้อยละ 80.61) สาเหตุและปัจจัยเกี่ยวกับปัญหาส้นเท้าแตก พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเดินด้วยเท้าเปล่าเป็นประจำ (ร้อยละ 39.80) และสวมรองเท้าเปิดส้นเป็นประจำ (ร้อยละ 53.06) และได้สวมใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ (ร้อยละ 53.06) และกลุ่มตัวอย่างทาครีมบำรุงและสครับส้นเท้าเป็นประจำ (ร้อยละ 53.06) และมีการดื่มน้ำต่อวัน (ร้อยละ 41.84) และอาบน้ำอุ่นและแช่น้ำร้อน (ร้อยละ 51.02) กลุ่มตัวอย่างได้สวมใส่รองเท้าที่รัดส้นเท้าเป็นประจำ (ร้อยละ 41.84) และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการขาดความเอาใจใส่ในการดูแลส้นเท้าของท่าน (ร้อยละ 37.76) และเคยขาดความมั่นใจในตัวเอง เพราะส้นเท้าแตก (ร้อยละ 41.84) และกลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการรักษา เรื่องส้นเท้าแตก (ร้อยละ 40.82)
  2. จากการทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ Chi-square พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับปัญหาส้นเท้าแตกของเพศหญิง อายุ 40-50 ปี หมู่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  คือ ระดับส้นเท้าแตกมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับปัญหาส้นเท้าแตกของเพศหญิง ซึ่งพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี (ร้อยละ 31.63) มีแนวโน้มเกิดปัญหาส้นเท้าแตกมากกว่าระดับอื่น ๆ    

References

พีรวัส คงสง และคณะ. (May.04.2020). การพัฒนาตำรับครีมรักษาส้นเท้าแตกจากส่วนหุ้มเมล็ดขี้กาแดง. Science and Technology. 10(1) :183-193.

สถาพร สัตย์ซื่อ และคณะ. (2563, กันยายน-ธันวาคม). การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าแตกจากสารสกัดแกนสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 18(3) :560-572.

บัญญัติ สุขศรีงาม.ปัญหาสำคัญของสุขภาพเท้า [Online].http://www.uniserv. buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1061 (4 กุมภาพันธุ์ 2565)

SJ gadget. ส้นเท้าแตกทำไง ปัญหาโลกแตกที่กวนใจสาว ๆ แต่จริง ๆ แล้วสามารถแก้ไข และ ป้องกันได้ง่ายมาก ๆ [Online]. https://www.sjgadget.com/article/426 (4 กุมภาพันธุ์ 2565)

บุญธิดา มระกูล.ส้นเท้าแตกการดูแลและป้องกัน [Online]. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article (20 กุมภาพันธุ์ 2565)

วิมลรัตน์ ม่วงประเสริฐ และคณะ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดจากผลกล้วยและเปลือกมะละกอทดแทนสารเคมีเพื่อยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในครีมทาส้นเท้า [Online]. https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/3473/ SCI_63_11.pdf?sequence=1&isAllowed=y (10 กุมภาพันธุ์ 2565)

สุดยอดแม่บ้าน. ป้องกันปัญหาส้นเท้าแตก [Online]. https://www.youtube.com

/watch?v=xj4hSoq6sXw (4 กุมภาพันธุ์ 2565)

คุณต์ รัตนวิฬาร์ .(2554). ความพึงพอใจและแนวโน้มพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เกลือสปา ของบริษัทลีกาโน่ (ประเทศไทย) จำกัด ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ . บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04