ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กนกพร เจริญพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • จุฑามาศ เจียมสาธิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรกร วิชัยโย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความปลอดภัย, พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 175 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยใช้ค่า Chi-square test, Odd Ratio (OR), 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05

            ผลการวิจัย พบว่า พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมีพฤติกรรมด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 55.40 ทัศนคติต่อความปลอดภัยในการทำงาน อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 58.30 และมีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีจำนวน 2 ตัวแปร ดังนี้ 1) ความถี่ในการทำงานล่วงเวลา ไม่เกิน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็น 3.48 เท่า และ 2) การไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ในการทำงาน เป็น 2.02 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ บริษัทควรเพิ่มกิจกรรมทบทวนข้อปฏิบัติความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน และเสริมสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานให้มีความถี่มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 4 ปีขึ้นไป เพราะว่า พนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 4 ปี ขาดความตระหนัก ความใส่ใจ คิดว่าตนเองมีความชำนาญ ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุในการทำงาน จึงมีพฤติกรรมความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสม และ ควรปรับตารางการทำงานล่วงเวลาให้ลดลง โดยให้พนักงานทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 3 วันต่อสัปดาห์ เนื่องจาก พนักงานที่ทำงานล่วงเวลามากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ มีเวลาพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จึงมีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยที่มากขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง

สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามความร้ายแรงในข่ายกองทุนเงินทดแทนทั่วราชอาณาจักรไทย ปี 2560-2565 : สำนักงานสถิติแห่งชาติ หมวดสถิติสวัสดิการสังคม [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้ จาก :http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/06.aspx

สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจำแนกตามความร้ายแรง

ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ปี 2560 - 2565.

สมชาติ สมปัญญา และคณะ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท เอี่ยมศิริแป้งมัน จำกัด. วรสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี 2559;5:135-143.

มงคลศักดิ์ หลงละเลิง และคณะ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานในโรงพิมพ์ขนาดเล็ก พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา2557: 24-35

พลกิจ จงวัชรสถิตย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานฮอทไลน์ (Hotline) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1, 2 และ 3 (ภาคกลาง). [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563

นคร สะสม. พฤติกรรมมนุษย์และความปลอดภัยในการทำงานกรณีศึกษา บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จำกัด. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2551

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29