สุขภาวะทางจิต : แนวคิด และแนวทางการสร้างเสริมในผู้สูงอายุตามบริบทชายแดนใต้

ผู้แต่ง

  • อุบลทิพย์ ไชยแสง -
  • นิวัติ ไชยแสง
  • อาบาดี เจะอาแดร์

คำสำคัญ:

สุขภาวะทางจิต, ผู้สูงอายุ, แนวคิด และแนวทางการสร้างเสริม , บริบทชายแดนใต้

บทคัดย่อ

สุขภาวะทางจิตเป็นคุณลักษณะเชิงบวกทางจิตใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการยอมรับตนเอง ความเป็นตัวของตัวเอง การเจริญเติบโตของบุคคล ความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ความสามารถในการจัดการกับสิ่งแวดล้อม และการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต  สุขภาวะทางจิตที่ดี ทำให้ผู้สูงอายุสามารถยอมรับ และจัดการกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านได้ตามศักยภาพของตน ผู้สูงอายุชายแดนใต้ควรได้รับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต ซึ่งมีความสำคัญยิ่งกับการต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของสุขภาวะตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่ สำหรับการจัดกิจกรรมที่สร้างเสริมสุขภาวะทางจิตเชิงรุกต้องตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุเหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิต และบริบทที่แตกต่าง การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีจะส่งผลต่อสุขภาวะที่สมบูรณ์ในทุกมิติ ซึ่งแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุชายแดนใต้ ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาสนาที่นับถือ  ประเพณี วัฒนธรรม บนพื้นฐานของครอบครัวที่ดี และการมีส่วนร่วมของครอบครัว 2) การสร้างเสริมสุขภาพร่างกายควบคู่ไปกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต 3) การดำเนินกิจกรรมระลึกอดีต และความหลัง  และ 4) เน้นกิจกรรมด้านนันทนาการ เพื่อผ่อนคลายความเครียด การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตให้กับผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข สอดคล้องกับนโยบายของชาติด้านการส่งเสริมสุขภาพรวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้สูงอายุตามบริบทของพื้นที่

References

เอกสารอ้างอิง

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. Research Brief การเข้าถึงระบบบริการทางสังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีรูปแบบการอยู่อาศัยต่างกันเพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนการบริการที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2565.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2562.

พิสิษฐ์ จารุศิริพจน์. การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ สมาคมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองนครปฐม (วิทยานิพนธ์).มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์: นครปฐม, 2562.

มาธุรี อุไรรัตน์ และมาลี สบายยิ่ง. “การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษามูลนิธิสงเคราะห์คนชราอนาถาแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา”. วารสารกึ่งวิชาการ. 38(1) : 29-44, 2560.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสุขภาพจิต ( ความสุขคนไทย) พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : สํานักสถิติพยากรณ์ สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2559.

Ryff, C. D., & Keyes, C. L. M. “The structureof psychological well-being Revisited”Journal of Personality and Social Psychology. 69 (4): 719-727, 1995.

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. “สุขภาวะทางจิตผู้สูงอายุไทย”วารสาร BU Academic Review.11(2): 99 – 110, 2555.

จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, และฉันทนา นาคฉัตรีย์. “ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้”วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.22(3): 88 – 99. 2555.

นริสา วงศ์พนารักษ์. “การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตในสังคมผู้สูงอายุ” วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (2): 160 – 164. 2556.

อัจศรา ประเสริฐสิน, ทัชชา สุริโย และปพน ณัฐเมธาวิน. “สุขภาวะของผู้สูงอายุ: แนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง.” วารสารสุขศึกษา. 41(1) : 1-15; มกราคม-มิถุนายน, 2561.

จัณห์นิภา บุญญานุวัตร. “การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชัยนาท”วารสารวิชาการและสังคมศาสตร์. 8 (24): 89 – 106. 2556.

Ryff, Carol D. “Happiness is Everything, or Is It? Exploration on Meaning of

Psychological Well-Being” Journal of Personality and Social Psychology. 57(6): 1069 – 1081. 1989.

Lawton M.P. “Environment and other Determinants of Well – Being in Older

People” The Gerontologist. (23) 4 : 349 – 357.1983.

Campbell, Angus. “Subjective measures of well-beingAmerican” Psychologist. 31(2) : 117-124. 1976.

Bradburn, M.N. The Structure of Psychological well – being. Chicago: Aldine, 1965.

ดารวันต์ รักสัตย์. อิทธิพลของลักษณะทางพุทธที่มีต่อสุขภาวะทางจิตของวัยรุ่นที่เข้า

ร่วมโครงการพัฒนาจิตเยาวชนแบบบบูรณาการ ณ ยุวพุทธกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีความเข้มแข็งในการมองโลกเป็นตัวแปรส่งผ่าน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ, 2557.

จัณห์นิภา บุญญานุวัตร. “การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตของ

ผู้สูงอายุในจังหวัดชัยนาท” วารสารวิชาการและสังคมศาสตร์.8 (24): 89 – 106. 2556.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. “จากปัญหาสู่นโยบาย : ศึกษากรณีผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้” วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 31(3): 2 – 26. 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29