การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยนอกของคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พนา มิ่งไชย -
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต

คำสำคัญ:

การพัฒนาบริการผู้ป่วยนอก, วิจัยเชิงปฏิบัติการ, CHAYANGKUN Model

บทคัดย่อ

            คลินิกหมอครอบครัวเป็นนโยบายเพื่อยกระดับความสามารถในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ที่มุ่งเน้นการให้บริการตามบริบทชุมชนและครอบครัว ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางโดยความร่วมมือของสหวิชาชีพในระดับปฐมภูมิโดยอาศัยหัวใจของเวชศาสตร์ครอบครัว คือ การดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการของของคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี รูแปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึง เมษายน 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิชยางกูร และผู้ให้บริการปฐมภูมิชยางกูร จำนวน 21 คน และผู้รับบริการในคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร จำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test dependent เพื่อหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test dependent เพื่อเปรียบเทียบบทบาทและความพึงพอใจของผู้ให้บริการก่อนและหลังพัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

            ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาการบริการผู้ป่วยนอกมีทั้งหมด 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.การวิเคราะห์บริบทและสถานการณ์ 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ 3. พัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัวชยางกูร 4. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในคลินิกหมอครอบครัว 5. การดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน 6. ประชุมเชิงปฏิบัติการ “ด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ” 7. สนับสนุนติดตาม นิเทศงาน 8. ประเมินผล 9. ถอดบทเรียนจัดเวทีแลกเปลี่ยน ซึ่งการวิเคราะห์การดำเนินงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับค่าเฉลี่ยของบทบาทในการให้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มสูงขึ้นก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value<0.001) และหลังการพัฒนาคลินิกหมอครอบครัวชยางกูรผ่านเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิทั้ง 8 ด้าน จากกระบวนการพัฒนาทำให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาการบริการผู้ป่วยนอกของคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี คือ CHAYANGKUN Model

References

Ministry of public health Strategy

and planning division. (2559). Operation guideline of primary care cluster service unit. Bangkok. (in Thai)

กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). คลินิกหมอครอบครัว Primary Care Cluster: แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566 จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/node

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2557.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. (2562). คู่มือแนวทางการจัดตั้งหน่วย บริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพ ปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กระทรวง สาธารณสุข.

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. แผนปฏิบัติราชการสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2566 สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566 จาก: http://demo.phoubon.in.th

สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, พฤกษา บุกบุญ, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. ผลการสํารวจสถานการณ์การดําเนินงาน และความคิดเห็นต่อนโยบายการ พัฒนาทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research reader. Geelong. Victoria: Deakin University Pres

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2566.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ:

นภัสภรณ์ เชิงสะอาด. การพัฒนารูปแบบคุณภาพการบริหารความเสี่ยง ตามมาตรฐานของงานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด, วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.

ธนะสิทธิ์ รุ่งศิรรัฐพงษ์. รูปแบบการจัดการคุณภาพคลินิกหมอครอบครัวโดยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป็นคลินิกหมอ ครอบครัวต้นแบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสว่าง ตำบลศรีสงคราม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย,วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

ภัทร์ธิตา โภคาพันธ์. (2562). การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการด้านคลินิกตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยในของพยาบาล โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี วารสาร พยาบาลทหารบก; 2562: 3(4),95-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-01