ศึกษาความรู้ด้านปัจจัยกำหนดสุขภาพในประชาชนเขตพื้นที่บริการปฐมภูมิเครือข่าย มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ธัชชัย ศรีเสน -
  • เขมิสา ศรีเสน

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยกำหนดสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับปัจจัยกำหนดสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล เครือข่ายคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบ F-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 462 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.7 อายุ 15-21 ปีร้อยละ 59.7 การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 63.9 และอาชีพรับจ้างร้อยละ 27.71 ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับดีร้อยละ 90.04 โดยเฉพาะฝุ่นและควัน การใช้สารเคมี และการเผาขยะมีผลกระทบต่อสุขภาพร้อยละ 98.92, 98.27 และ 98.05 ตามลำดับ ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม และการเมืองมีผลกระทบต่อสุขภาพร้อยละ 26.62, 19.69 และ 14.28 ตามลำดับ มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับดีร้อยละ 78.35 พฤติกรรมที่ปฏิบัติถูกต้องได้แก่ ออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีร้อยละ 43.7 นอนมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันร้อยละ 59.5 ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 63.9 และตรวจสุขภาพทุกปีร้อยละ 94.6 แต่ยังมีพฤติกรรมที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารหวาน มัน และเค็มปะปนกันร้อยละ 71.4 ดื่มสุราประจำร้อยละ 36.8 พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.115, p-value ≤ 0.01) จากผลการศึกษานี้ ควรมีการศึกษาความรู้ด้านปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพในทุกกลุ่มประชากร เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างครอบคลุม  

References

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya 2009.

World Health Organization. Ottawa charter for health promotion. Retrieved from World Health Organization 1986.

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Switzerland. Marilyn Langfeld. 1998.

Do BN, Nguyen PA, Pham KM, Nguyen HC, Nguyen MH, Tran CQ. et. al. Determinants of Health Literacy and Its Associations with Health-Related Behaviors, Depression Among the Older People With and Without Suspected COVID-19 Symptoms: A Multi-Institutional Study. Front Public Health. 2020 Nov 16;8:581746.

Steven S. Coughlin, Marlo Vernon, Christos Hatzigeorgiou, Varghese George. Health Literacy, Social Determinants of Health, and Disease Prevention and Control, J Environ Health Sci 2020;6(1):3061.

KISS’s Developer Team, Department of Health, Ministry of Public Health (Internet). Nonthaburi; 2020 (cited 2022 Oct 9) Available from: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/populationpyramid/tambon?year=2020&tb=650106

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. “Determining sample size for research activities”. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-610.

Bloom, B.S. Taxonomy of Education. New York: David McKay Company Inc 1975.

Simões N., Crespo N., Moreira S.B., Varum Celeste A. Measurement and determinants of health poverty and richness: evidence from Portugal. Empir. Econ 2016;50:1331–1358.

Simmons RA, Cosgrove SC, Romney MC, et al. Health literacy: cancer prevention strategies for early adults. Am J Prev Med 2017;53(3S1):73-77.

Krittiya Sasipuminrit. The review of social determinants of health learning process. Thai Health Promotion Foundation. Social Justice and Inequality Journal 2021;2(2):15-33.

Don Nutbeam, Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century, Health Promotion International 2000;15(3):259–267.

The World Bank. Health and Non-communicable disease. Washington, DC 20433, USA 2016.

Sithisarankul P. Health examination-important opportunity for prevention. Chula Med J 2009 Jul – Aug;53(4):247-51.

Sangduan Ginggeaw, Nusara Prasertsri. The Relationship between Health Literacy and Health Behaviors among Older Adults who have Muti-morbidity. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2016;25(3):43-54.

Apinya Indhraratana. Health literacy of Health Professionals. Journal of Thai Royal Thai Army Nurses 2014;15(3):174-78.

Thaparat Rakpanusit, Narumol Jeenmuang, and Nantiya Khoyneung. Factors Related to Health Promotion Behavior among Undergraduate University Students, Prince of Songkla University, Pattani Campus. ASL.PSU 2018;29(3):170-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29