ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนของประชาชน อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สุดาทิพย์ ไชยราช
  • ประจวบ แหลมหลัก
  • อรัณย์ภัค พิทักษ์พงษ์

คำสำคัญ:

การสุขาภิบาลอาหาร, ครัวเรือน, เชียงราย

บทคัดย่อ

การสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนเป็นปัจจัยสำคัญในการลดปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อผ่านทางเดินอาหาร การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนของประชาชน จะช่วยพัฒนาแนวทางการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารที่ชัดเจนขึ้น การวิจัยนี้ใช้รูปแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนของประชาชน อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ประชากรจำนวน 29,858 ครัวเรือน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของ Krejcie and Morgan ได้ตัวอย่าง 399  ครัวเรือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

              ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.2) อายุระหว่าง 40-49 ปี (ร้อยละ 27.1) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 27.6) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 2000-11,599 บาท (ร้อยละ 63.9) และมีอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 36.1) มีความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารค่าเฉลี่ย 9.54 คะแนน (S.D. = 2.73) ระดับเจตคติต่อการสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.33, S.D.=0.65) ปัจจัยเอื้อในการสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับดี ( =3.75, S.D.=0.57) ปัจจัยเสริมการสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.52, S.D. = 0.74) การสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับดี ( = 4.53, S.D. = 0.75) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนของประชาชน ได้แก่ อาชีพ ปัจจัยนำด้านความรู้และเจตคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ดังนั้นการพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ การจัดสิ่งสนับสนุนพฤติกรรมตามหลักสุขาภิบาล จะช่วยให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และลดปัญหาความเจ็บป่วย

References

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย. (2565). แนวทางการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารปีงบประมาณ 2566. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566,จาก https://foodsan.anamai.moph.go.th.

กรมควบคุมโรค. พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 24/2565. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565, จาก https://nongpruecity.go.th/networknews/detail/28101

กรมควบคุมโรค. พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 18/2565. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565, จาก https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/173813/

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถิติสุขภาพระดับพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=3&pf=01818101&tp=202

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company.

Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall

Kuder, G. F. and Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins

นันธิดา แดงขาว และคณะ. (2565). พฤติกรรมด้านอาหารปลอดภัยของ ผู้สัมผัสอาหารในครัวโรงแรม 5 ดาว เขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษานักศึกษาฝึกงาน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 14(1), 130-146.

ลลนา ทองแท้. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักสุขวิทยาส่วนบุคคลด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหาร ในเทศบาลนครรังสิต. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 56, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 48-55.

เดือนฉาย โชคอนันต์. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและ นวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 138-149.

Bandura, A. (1997) Social Learning Theory. New Jersy: Englewood Cliffs.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-01