ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในวัยผู้ใหญ่ ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย Faculty of Nursing Suan Dusit University
  • วิวินท์ ปุรณะ
  • ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง, ภาวะสมองเสื่อม, วัยผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในวัยผู้ใหญ่ ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรผู้ที่มีอายุ 45 - 59 ปี อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณทล จังหวัดนครปฐม จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม จำนวน 4 กิจกรรม โดยมีระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานด้วยสถิติ Mann-Whitney U – Test Wilcoxon Signed Ranks Test และ The Friedman Test. ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ คะแนนทัศนคติ และคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองหลังการทดลองและติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p-value<0.01) หลังการทดลอง ติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม คะแนนทัศนคติ และคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p-value<0.01) โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองมีประสิทธิผลในการสร้างเสริมการจัดการตนเองและสามารถทำให้การจัดการตนเองได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ สรุปโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในวัยผู้ใหญ่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและควรจัดในรูปแบบกิจกรรมจะช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมในวัยผู้ใหญ่ได้ดียิ่งขึ้น

Author Biography

รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย, Faculty of Nursing Suan Dusit University

อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

 

 

References

เอกสารอ้างอิง

World health organization (WHO). News-room: Dementia. RetrievedFrom, https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dementia, 2023.

วิชัย เอกพลากร, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, สุรศักดิ์ฐานีพานิชสกุล, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์เสถียรนพเกล้า, กนิษฐา ไทยกล้า.รายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทย โดย การตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. กรุงเทพฯ : เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จํากัด, 2552.

ชัชวาล วงค์สารี. ผลการทบการเกิดภาวะสมองเสื่อมต่อผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยคริสเตียน.23(4): 680-687; ตุลาคม-ธันวาคม, 2560.

คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. ภาวะสมองเสื่อมก่อนวัย. งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป, 2565.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปิรามิดประชากร ตำบลมหาสวัสดิ์ ปี 2563.ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 2566.

Barlow J, Wright C, Sheasby J, Turner A, Hainsworth J. Self-management approaches for people with chronic conditions: a review. Patient Educ Couns. 2002;48(2):177-87.

Ryan P, Sawin KJ. The Individual and Family Self-Management Theory: background and perspectives on context, process, and outcomes. Nurs Outlook. 2009;57(4):217-25.e6.

สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ Prevention of Dementia in Older Persons.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.37(4): 6-14; ตุลาคม-ธันวาคม, 2561.

Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods.2007;39(2):175-91.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. การประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ เรื่องการเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบ ทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai Mini-Mental State Examination; TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีจีทูล จำกัด, 2551.

Tangwongchai,S., Charernboon,T., Phanasathit,M., Akkayagorn, L., Hemrungrojn, S., Phanthumchinda, L., &Nasreddine, Z. The validity ofThai version of the Montreal cognitiveassessment (MoCA-T). Dementia &Neuropsychologia. 3: 172, 2009.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, สมบัติ ทีฆทรัพย์. ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัดมหาชน, 2560.

สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการ วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์, 2553.

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.26(1): 117-127, 2558.

Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, et al. Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy programme for people with dementia: randomised controlled trial. Br J Psychiatry. 2003;183:248-54.

Creer, TL. Self-management ofchronic illness. Retrieved fromhttp://cachescan.bcub.ro/e-book/E1/580704/601-649.pdf, 2000.

Martin F, Turner A, Wallace LM, Bradbury N. Conceptualisation of self-management intervention for people with early-stage dementia. Eur J Ageing. 2013;10(2):75-87.

Chang JY, Tsai PF, Beck C, Hagen JL, Huff DC, Anand KJ, et al. The effect of tai chi on cognition in elders with cognitive impairment. Medsurg Nurs. 2011;20(2):63-9; quiz 70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07