ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ตติยา เพ็งชัย
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์
  • สุมัทนา กลางคาร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม , การรับรู้ความสามารถของตนเอง , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทั้งหมด 6 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับการหกล้ม 2) การบริหารลมปราณเพื่อสุขภาพ “ไทเก็ก” 3) ทักษะการเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถต่างๆ 4) การใช้อุปกรณ์ช่วยการเคลื่อนไหว 5) การดูแลสภาพแวดล้อมในและนอกบ้าน และ 6) ติดตามเยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ 3) แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ และ4) แบบสอบถามพฤติกรรมในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันการหกล้ม ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันการหกล้ม และพฤติกรรมในการป้องกันการหกล้มมากกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001).

References

เอกสารอ้างอิง

Best J. Research in Education: New Jersey:Prentice Hall; 1977.

Jo H-E, & Kim, M. J. . Effects of a fall prevention program on physical fitness, fall efficacy and fall prevention behavior among community-dwelling olderadults. The Korean Journal of Rehabilitation Nursing. 2017;20(1):22-32.

Bandura A. Self-Efficacy: Toward A Unifying Theory Of Behavioral Change. Psychological Review. 1977;84(2):191-215.

Dadgari A, Hamid T, Hakim M, Mousavi SA, Dadvar L, Mohammadi M, et al. The role of self-efficacy on fear of falls and fall among elderly community dwellers in Shahroud, Iran. Nursing Practice Today. 2016;2(3):112-20.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program For The Social, Behavioral,And Biomedical Sciences.Behavior Research Methods.2017;2(39):175-91.

Gene V. Glass. Primary, Secondary, and Meta-Analysis of Research. American Educational Research Association. 1976;5(10):3-8.

World Health Organization. WHO Global Report On Falls Prevention In Older Age. Genea, Switzerland: World Health Organization; 2008.

กรมอนามัย. กายบริหารลมปราณเพื่อสุขภาพ: กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

กาญจนา พิบูลย์ และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน [คณะสาธารณสุขศาสตร์ ]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลศรีสะเกษ. รายงานสถิติผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษเนื่องจากการหกล้ม 2565 [Available from: http://www.sskh.moph.go.th/.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินท์. บทความปริทัศน์ การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 2555;5(2):119-31.

ธนพงษ์ เทศนิยม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์. 2563;44(4):90-5.

นพวรรณ ดวงจันทร์ และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์นาวี. 2565;49(3):572-93.

นัทฐิณี บุญช่วย. ประสิทธิผลการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการรับรู้และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 2564;47(2):102-12.

นิพา ศรีช้าง และ ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ(อายุ60 ปีขึ้นไป)ในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2560 - 2564: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2550.

ละออม สร้อยแสง. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(1):122-9.

วิราพร สืบสุนทร. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะของตนต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและสมรรถนะทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2562;44(2):119-28.

วิลาวรรณ สมตน. ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2556;27(3):58-70.

ศรวณีย์ ทนุชิต , ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส,. การศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ2560.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ: บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด; 2562.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม: กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ จังหวัดศรีสะเกษ 2565 [Available from: http://www.ssko.moph.go.th/.

สำนักสถิติสังคม. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 6: มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์ – สารคามเปเปอร์; 2553.

เสาวภา เด็ดขาด, สุดารัตน์ ทองคง, พยอม ถิ่นอ่วน. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2565;9(2):213-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07