พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงของผู้ใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สกุณา กัณหาสุระ -
  • พรพิมล ชูพานิช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, อาหารที่มีโซเดียมสูง, วัยผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงและหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงของผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งหมด 278 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารโซเดียมสูงด้วยสถิติพหุโลจิสติก นำเสนอด้วยค่า Adjusted odd ratio (Adjusted OR) และช่วงความเชื่อมั่นที่ค่าร้อยละ 95 (95% confidence interval; 95%CI)

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 84.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ เพศชาย (Adjusted OR = 4.4, 95%CI = 1.5 – 13.1) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 5000 บาท (Adjusted OR = 3.5, 95%CI = 1.3 – 9.3) ดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 23.0 กก.ต่อตร.ม. (Adjusted OR = 2.4, 95%CI = 1.1 – 5.5) การมีความรู้เรื่องอาหารที่มีโซเดียมสูงระดับต่ำถึงปานกลาง (Adjusted OR = 3.2, 95%CI = 1.5 – 6.9) และการได้รับข้อมูลข่าวสารในระดับต่ำ (Adjusted OR = 3.3, 95%CI = 1.1 – 9.0) ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมความรู้การลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงให้ประชากรในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และหามาตรการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงต่อไป

References

World Health Organization. Salt reduction. Retrieved September 25, 2020 from https://www.who.int/publications/i/item/9789241506236, 2020.

Grillo, A., Salvi, L., Coruzzi, P., Salvi, P., & Parati, G. Sodium intake and hypertension. Nutrients, 11(9): 1970, 2019.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจปริมาณการบริโภคโซเดียมคลอไรด์ของประชากรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2552.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). รายงานโครงการชุมชนลดเค็ม ลดโรคตต้นแบบ. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1119420210312075409.pdf

PS, Y., MY, M. F., AG, S., & AO, Z. Sodium Intake among Normotensive Health Staff Assessed by 24 Hour Urinary Excretion: A Cross-sectional Study. Malaysian Journal of Nutrition, 20(3), 2014.

Hong, J. W., Noh, J. H., & Kim, D. J. Factors associated with high sodium Intake based on estimated 24-hour urinary sodium excretion: The 2009-2011 Korea National Health and Nutrition Examination Survey. Medicine, 95(9), e2864 , (2016).

สิริมนต์ ชายเกตุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(1), 103–114, (2559).

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Research andDevelopment Journal Loei Rajabhat University, 13(45), 68–78, (2558).

จุรีพร คงประเสริฐ, และ กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคเกลือและโซเดียมเกินในประชากร กรณีศึกษา 4 จังหวัด. วารสารควบคุมโรค, 48(4), 886-898, 2564.

Health Data Center. ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายอายุและเพศ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2564, จาก https://udn.hdc.moph.go.th, 2564.

พงษ์เดช สารการ. ชีวสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล: STATA. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น, 2558.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานโครงการชุมชนลดเค็ม ลดโรคตต้นแบบ. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2564, จาก http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13979&gid=1-015-005, 2561.

Best, J.W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall,1977.

Polit, D. F., & Beck, C. T. The content validity index: Are you sure you know what’s being reported Critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29(5), 489–497, 2006.

สุมัทนา กลางคาร, และ วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. สารคามการพิมพ์ สารคามเปเปอร์. มหาสารคาม, 2553.

กรรณิกา สุวรรณา, วลัยลักษณ์ สิทธิบรรณ, จิรา แก้วดำ, และ เลอศักดิ์ อินทร์นุภาพ. ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเค็มของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2(1), 53–61, 2563.

Elorriaga, N., Gutierrez, L., Romero, I. B., Moyano, D. L., Poggio, R., Calandrelli, M., Mores, N., Rubinstein, A., & Irazola, V. Collecting evidence to inform salt reduction policies in Argentina: Identifying sources of sodium intake in adults from a population-based sample. Nutrients, 9(9), 964, 2017

อมรรัตน์ ธนสนธิ์. (2559). โภชนบำบัด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2564, จาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00082f2019061117005288.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-01